ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหวในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ศมนรักษ์ สุวรรณทรัพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20130
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20130
  • วรรณรัตน์ ลาวัง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20130

คำสำคัญ:

Mobility impairment/ Health-related quality of life/ Health utility

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างคือคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ไม่มีปัญหาการสื่อสาร ได้รับการจดทะเบียนคนพิการ และมีชื่อในฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 212 ราย สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน     

                ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 67.00) มีอายุระหว่าง 41 ถึง 60 ปี(ค่ามัธยฐาน 54 ปี พิสัยควอไทล์ 23 ปี) ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 55.20) ไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 70.30) รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท(ค่ามัธยฐาน 8,000 บาท พิสัยควอไทล์ 8,000 บาท) ซึ่งมีระยะเวลาที่พิการน้อยกว่า 10 ปี (ค่ามัธยฐาน 6 ปี พิสัยควอไทล์ 8 ปี) และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพทางกายในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 2.30 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.13)  คุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ประเมินโดยวิธี Standard gamble (SG) ได้ค่ามัธยฐานเท่ากับ 0.75 (ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ 0.40 ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.75 – 0.85) โดยพบว่าการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาพลักษณ์และรูปร่างของตน การเห็นคุณค่าในตนเอง ระดับความพิการ และความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้ชีวิต เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของคนพิการทางการเคลื่อนไหวได้ ร้อยละ 40.3 (R2= .403, F= 6.084,        p-value <.01) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .006, .012, .007, -.076, และ .010 ตามลำดับ

                จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น โดยสนับสนุนการดูแลในทุกด้าน ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์และรูปร่างของตน และการเห็นคุณค่าในตนเองที่ดี ตลอดจนจัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

 

คำสำคัญ: พิการทางการเคลื่อนไหว/ คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ/ อรรถประโยชน์ด้านสุขภาพ

 

   


FACTORS INFLUENCING QUALITY OF LIFE AMONG MOBILITY IMPAIRMENT PEOPLE IN PATHUM THANI PROVINCE

 

 

ABSTRACT

                This predictive research, aims to identify the factors predicting quality of life of the people with mobility impairment. Participants were 212 registered persons with mobility impairment without communication problem in Pathum Thani province who were recruited based on multistage random sampling. Data were collected between August - November 2015 questionnaires and interviews. The data were analyzed by descriptive statistics, Pearson correlation coefficient, point biserial correlation and multiple regressions.

The majority of sample were male (67.00%) with ages ranged from 41 to 60 years (median = 54, IQR = 23), graduated elementary education level (55.20%), were unemployed (70.30%), and had family income less than 10,000 baht/month (median = 8,000, IQR = 8,000). The duration of disability was reported less than 10 years (median = 6, IQR = 8). The perception of physical health was rated at a good level (mean = 2.30 score, SD=2.13). The median quality of life measured by standard gamble (SG) was 0.70 (IQR = 0.26, 95% CI = 0.75 – 0.85). Results of the stepwise multiple regression analysis indicated that social support (b = .006), self-image (b = .012), self-esteem (b = .007), disability level (b = -.076), and daily safety and convenience (b = .007) could explain the variations of quality of life among people with mobility impairment by 40.3 % (R2= .403, F= 6.084, p-value <.01)  

Results suggest that community nurse practitioners and other health care providers should pay more attention to people with mobility impairment with emphasis on improving the quality of life through creating a network for social support, promoting self-image and self-esteem, and also designing and managing the suitable living environment.

        

Keywords: Mobility impairment/ Health-related quality of life/ Health utility

Author Biographies

ศมนรักษ์ สุวรรณทรัพย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20130

นิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 


ยุวดี ลีลัคนาวีระ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20130

ผู้รับผิดชอบหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

วรรณรัตน์ ลาวัง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20130

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-11-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย