การถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลธงชัย

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ดวงจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
  • สถาพร แถวจันทึก วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
  • อัจฉรา สุขสำราญ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
  • อุไรรัชต์ บุญแท้ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
  • เพ็ญแข ดิษฐบรรจง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

คำสำคัญ:

Lesson-learned, Elderly health promotion projects, Community participation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลธงชัย ศึกษาผลลัพธ์และปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งความต่อเนื่องและยั่งยืนของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลธงชัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการถอดบทเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้สูงอายุ แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจากตำบลธงชัย ตัวแทนอาจารย์และนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                1) ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลธงชัย ได้แก่ ผู้สูงอายุรู้ปัญหาที่แท้จริงของตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับตนเอง ประสานงานและเตรียมการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน การพยาบาลด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ และกิจกรรมปรับเปลี่ยนตามความต้องการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่

                2) ปัจจัยสำเร็จ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำทางสุขภาพที่เข้มแข็งของชุมชน เป็นกิจกรรมที่มีการดำเนินการร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องและวิทยาลัยฯ เติมเต็มความรู้ทางด้านสุขภาพ

                3) ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ เวลาไม่ตรงกันและมีภาระงานต้องทำ ผู้สูงอายุคุ้นเคยกับสิ่งที่ปฏิบัติเดิมๆ ไม่อยากเปลี่ยนแปลง และหมู่บ้านในเขตเมืองเข้าถึงได้ยาก

                4) การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน จำเป็นต้องคำนึงถึงการสร้างความตะหนักรู้ด้วยตนเอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคือผู้นำสุขภาพที่คงอยู่คู่ตำบลธงชัย สามองค์กรประสานความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันและขยายผลไปยังกลุ่มผู้สูงอายุที่ติดเตียงและช่วยเหลือตนเองไม่ได้

                ผลการวิจัยนี้ ให้ข้อมูลที่สะท้อนถึงรูปแบบของการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนและสามารถชี้นำภายนอกประเด็นทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป

คำสำคัญ : การถอดบทเรียน การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมของชุมชน

 

Lesson-learned of community participation

in the elderly health promotion projects at Thongchai subdistrict 

Abstract

                This qualitative research was to study the lesson-learned from the elderly health promotion projects under the supervision of Prachomklao College of Nursing. The objectives were to explore knowledge and experiences of community participation in this project, success factors, problems and barriers of the elderly health care, as well as to study the continuity and sustainability of the community involvement in the care of elderly people. The participants were elderly people, community leaders, health volunteers, healthcare staffs, nursing faculty and nursing students who had participated in the project. Data were collected using focus group interviews and documents analysis. Content analysis was employed to analyze the data. The results of study are;

                1) The knowledge and experiences from this project included the elderly perceptions of their health problems, shared lived experiences among the elderly people and appropriate activities to promote individual elderly health, modification of activities depending on needs and resources, and humanized health care.

                2) Critical success factors of the elderly health care were the strength of health volunteers and community health care team, the continuity of community health promotion project and the collaboration of Prachomklao College of Nursing in health knowledge fulfillment to the community.

                3) Problems and barriers of this project included time conflict and high workload, people tended to be stuck with old habits, be afraid to change, and the difficulty to approach individual elderly at the home in the urban area.

                4) The continuity and sustainability of the community involvement in the care of elderly people required individual health awareness, strong sense of voluntarism of health volunteers, great collaboration among related organizations to initiate and provide healthcare to the elderly people in the community including dependent and disable elders. 

                The results of this study reflected patterns of community participation in the elderly health promotion project; therefore, provide directions for community care for the elderly in future.

Keywords : Lesson-learned, Elderly health promotion projects, Community participation

Author Biographies

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

สถาพร แถวจันทึก, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

อัจฉรา สุขสำราญ, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

อุไรรัชต์ บุญแท้, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

เพ็ญแข ดิษฐบรรจง, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-02-04

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย