ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของนิสิตและบัณฑิตพยาบาล ตามการรับรู้ของนิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • ศิริพร แสงศรีจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • ศิริรัตน์ โกศัลวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • อิชยา มอญแสง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • แสงเดือน พรมแก้วงาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

Effective Leadership, Students Nurse, Graduated Nurses, Stakeholder

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

  การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของนิสิตและบัณฑิตพยาบาลและเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของนิสิตและบัณฑิตพยาบาล ระหว่างการรับรู้ของนิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 บัณฑิตพยาบาล และผู้ใช้บัณทิต ปีการศึกษา 2556 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ทดสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของนิสิตพยาบาลและบัณฑิตพยาบาลตามการรับรู้ของตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.6, SD.= .35) ( =3.75, SD.= .21) ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนางาน อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.42, SD.= .41) ( =3.46, SD.= .32) ( =3.32, SD.= .56) ( =3.37, SD.= .38) ส่วนค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของบัณฑิตพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.66, SD.= .54) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาผู้ตาม และด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญงานการพยาบาล  อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.29, SD.= .59) ( =3.05, SD.= .59)       ( =3.41, SD.= .76) ( =3.42, SD.= .72) 2) คะแนนเฉลี่ยภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของนิสิต และบัณฑิตพยาบาล ตามการรับรู้ของนิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนเฉลี่ยด้านคุณลักษณะผู้นำที่เป็นแบบอย่าง ด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนางาน ด้านคุณลักษณะทางวิชาชีพที่เป็นแบบอย่าง และด้านการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาผู้ตาม ตามการรับรู้ของนิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)

                ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาและสถานพยาบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรจัดระบบการจัดการศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาและสร้างเสริมภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลให้นิสิตพยาบาลและบัณฑิตพยาบาล ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและความคาดหวังของผู้ใช้บริการสุขภาพ ในชุมชนและสังคมต่อไป

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล  นิสิตพยาบาล  บัณฑิตพยาบาล  ผู้ใช้บัณฑิต

 

Abstract

       This descriptive research design purposes were to examine the perceived of effective leadership and differences of the effective leadership scores of students and graduated nurses as perceived by students, graduated nurses, and stakeholders of Bachelor of Nursing Science. Samples were 165 students nursing, graduated nurses and stakeholders who selected by a multi-stage sampling technique. The instrument was effective leadership questionnaire. Reliability by Cronbach’s alpha coefficients was .89. Data were analyzed by using descriptive statistics and One-way ANOVA.

                The findings revealed as follows: 1) The overall of effective leadership scores of students and graduated nurses as perceived by students and graduated nurses were at a high level. ( =3.6, SD.=.35); ( =3.75, SD.=.21). The leadership vision and quality innovation and information technology scores as perceived by students and graduated nurses were at a moderate level. ( =3.32, SD.=.56), ( =3.37, SD.=.38). The overall of effective leadership scores of graduated nurses among stakeholder was at a high level. The leadership vision, quality innovation and information technology, support and promote follower's development and nursing expertise scores of graduated nurses as perceived by stakeholders were at a moderate level ( =3.29, SD.=.59; =3.05, SD.=.59; =3.41, SD.=.76; =3.42, SD.= .72).   2) There was not significant difference on the overall mean scores of the effective leadership as perceived by students, graduated nurses and stakeholder. There was a difference between the mean scores of the exemplary leadership characteristic, quality innovation and information technology, exemplary professional characteristics and support and promote follower's development as perceived by students, graduated nurses and stakeholder (p - value < .05).

                These results show that the leadership vision and quality innovation and information technology scores were at a moderate level. The recommendation is that education and health administrators or stakeholders should provide nursing education system to develop and enhance effective leadership of student nurses and nursing graduates to meet the expectation of the stakeholders and clients in community and society in the future.

Keywords: Effective Leadership, Students Nurse, Graduated Nurses, Stakeholder

Author Biographies

ศิริพร แสงศรีจันทร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

ศิริรัตน์ โกศัลวัฒน์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

อิชยา มอญแสง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

แสงเดือน พรมแก้วงาม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย