การศึกษาสถานการณ์การขาดแคลนและความต้องการกำลังคนสาขาการพยาบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง

ผู้แต่ง

  • อุบลรัตน์  โพธิ์พัฒนชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • อติญาณ์  ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • รุ่งนภา  จันทรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • โศรตรีย์  แพน้อย  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

Nursing Manpower

บทคัดย่อ


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาการขาดแคลนกำลังคนสาขาการพยาบาล และความต้องการกำลังคนสาขาการพยาบาลในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองโดยกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นผู้ใช้พยาบาล จังหวัดละ 10-15 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไปหัวหน้าฝ่าย
การพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ตัวแทนสำนักงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการรับนักศึกษาพยาบาล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสนทนากลุ่ม โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน
3 ท่าน ได้ท่านค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.75 และทดลองใช้กับกลุ่มทดลองก่อนนำมาใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1.    ทุกจังหวัดมีการขาดแคลนกำลังคนด้านพยาบาล โดยเฉพาะจังหวัดระนองมีความขาดแคลนเป็นจำนวนมาก
2.    ความต้องการกำลังคนด้านพยาบาล ยังมีความต้องการในระดับปริญญาตรีเพราะสามารถให้บริการกับผู้รับบริการได้ครอบคลุมในหลายๆด้านสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการได้  พยาบาลวิชาชีพจึงยังเป็นที่ต้องการมากนอกจากนี้ยังต้องการพยาบาลเฉพาะทางและพยาบาลที่ผ่านหลักสูตรระยะสั้น
คำสำคัญ : กำลังคนสาขาการพยาบาล


Abstract


This qualitative research aimed to describe the shortage of nurse manpower and the requirement of professional nurse in 3 Provinces: Suratthani, Chumporn and Ranong. The participants were stakeholders in health care setting in the three Provinces. They were the deputy directors of nursing in regional or general hospital, head of nursing
department in community hospital, and the representative from health promoting
hospital and provincial health office, 10-15 participants per province. The purposive sampling was used to identify the respondents. Data were gained by A group discussion Through quality inspection by 3 experts. Content validity was ensured through obtaining views of three experts (CVI= .75).
The results were as follows.  Every province had a shortage of nursing personnel. The most shortage was at The Ranong Hospital.  The need of nursing personnel was graduated of Bachelor level because they can provide in all areas of nursing care and develop feeling of the service care confidence to the customers. These were the cause of why professional nurses are at the huge demand.  Moreover, specialty and short courses training nurses are also required.
Keywords :  Nursing  Manpower

Author Biographies

อุบลรัตน์  โพธิ์พัฒนชัย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

อติญาณ์  ศรเกษตริน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

รุ่งนภา  จันทรา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

โศรตรีย์  แพน้อย , วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 หมู่ 2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

สุราษฎร์ธานี

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย