การศึกษาความต้องการในการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก

ผู้แต่ง

  • สุวิภา นิตยางกูร สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
  • ธิดารัตน์ อนุรัตน์ สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

คำสำคัญ:

personnel development requirement, Thai Traditional Medicine, Alternative Medicine

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก และพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการจำเป็นของผู้อำนวยการโรงพยาบาล และผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยสำรวจ (survey research) ในตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  2) ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2554 แบบสอบถามมี 3 ชุด ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา (content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงในจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s coeffient alpha) = 0.78, 0.75, และ 0.73 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้ตัวอย่างรวมจำนวน 1,835 คน สังกัด 1) โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง (purposive sampling) มีตัวอย่างจำนวน 285 คน 2)โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(proportional stratified sampling) ได้ตัวอย่างจำนวน 780 และ 770 คน ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจเลือกพัฒนาหลักสูตรโดยวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นการพัฒนาบุคลากรของโรงพยาบาลจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 และประชุมระดมสมองวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นร่วมกับประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร ตรวจสอบหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบหลักสูตรและประเมินประสิทธิผล โดยจัดอบรมให้กับพยาบาลวิชาชีพจำนวน 45 คน และรวบรวมและวิเคราะห์การประเมินผลของผู้เข้าอบรม ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรตามข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยสรุปดังนี้
    1.    ความต้องการพัฒนา พบว่า
        1.1    ผู้อำนวยการสังกัดโรงพยาบาลที่มีบริการแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกมีบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและด้านการแพทย์ทางเลือกพอเพียงร้อยละ 34.26 และ 7.24 ผู้อำนวยการสังกัดโรงพยาบาลทุกระดับมีแผนจะเปิด/ขยายงานด้านการแพทย์แผนไทยและด้านการแพทย์ทางเลือกร้อยละ 82.26 และ 49.68 มีความต้องการบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและด้านการแพทย์ทางเลือกเพิ่มในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ร้อยละ 86.98 และ 57.36 และยินดีส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทยและด้านการแพทย์ทางเลือกร้อยละ 82.45 และ 52.64
        1.2    ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่แสดงความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์แผนไทยระดับมากมากที่สุดร้อยละ 76.10 โดยมี = 4.18 ฑ 0.16 ด้วยหลักสูตรการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยมากที่สุดร้อยละ 72.98 ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่แสดงความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ทางเลือกระดับมากที่สุดร้อยละ 82.02 โดยมี = 4.20 ฑ 0.17 ด้วยหลักสูตรการนวดจัดกระดูก (Chiropractic) มากที่สุดร้อยละ 54.39
    2.    ประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่า หลังการอบรมผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นระดับมากที่สุด
ร้อยละ 77.78 โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.73 ฑ 0.23 และมีความมั่นใจในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน
การปฏิบัติงานระดับมากที่สุดร้อยละ 66.67 โดยมี = 4.60 ฑ 0.29

คำสำคัญ  : ความต้องการพัฒนาบุคลากร การแพทย์แผนไทย  การแพทย์ทางเลือก

Abstract
    This research aimed to: 1) study the Thai Traditional Medicine (TTM) and Alternative Medicine personnel training need, and 2) develop the curriculum as the needs of the directors and practitioners in the hospitals of Secretary Ministry of Public Health. This research was divided into
4 steps. Step 1 was the survey research of personnel training need situation among the two main groups : a) the directors, and b) TTM and Alternative Medicine practitioners in the hospitals. Data collection was conducted by mail during June to September 2011. There were 3 questionnaires, were content validity tested by experts, and reliability tested at Nonthaburi and Pratumthani. The questionnaire reliabilities tested by Cronbach’s Coeffient Alpha were at 0.78, 0.75 and 0.73 respectively.  The 1,835 questionnaires were distributed to 2 groups: the first group was the 285 directors and practitioners at The Regional and Provincial hospitals gained by purposive sampling, and the second group was both the 780 practitioner at Community hospital, and the 770 practitioners from Tambon hospitals gained from purposive sampling and proportional stratified sampling. The data gained from the step 1 were descriptive. Step 2 was the decision analysis of curricular selection. The hospital training need from the 1st step was analysed and then was Brain storming to identify related issues appropriated to select appropriated curriculum, develop curriculum, and validate curriculum by experts. Step 3 was the curriculum testes and evaluation. The curriculum was tested by 45 register nurses and then was evaluated. Step 4 was the curriculum improvement. The study showed as follows.   
    1. The development requirement situation.
        1.1 Director reported that there were sufficient both TTM and Alternative Medicine
personnel at 34.26% and 7.24% respectively. The directors planned to extend TTM and Alternative Medicine services about 82.45% and 49.86%. Within five years, they planned to have more of both personnel at 87.19 % and 58.50 %. They also planned to support their register nurses to enroll the TTM (at 82.45%) and Alternative Medicine training courses at 64.87%.
        1.2 Majority of The TTM personnel needed to develop their TTM knowledge and skill at 76.10 % (= 4.18 ± 0.16).  Among them, the popular curriculum was the TTM physical examination and treatment at 72.98 %. For the alternative Medicine, most of them planned to develop their Alternative Medicine knowledge and skill at 82.02 % (= 4.20 ± 0.17).  The popular curriculum was the Chiropractic course at 54.39 %.  
2.  Regarding to the effectiveness of the curriculum, after training, most of the trainees gained knowledge in TTM at 77.78% (= 4.73 ± 0.23) and gained more confidence of practice application at 66.67% (= 4.60 ± 0.29).

Keywords : personnel development requirement;  Thai Traditional Medicine;  Alternative Medicine

Author Biographies

สุวิภา นิตยางกูร, สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สถาบันพระบรมราชชนก

ธิดารัตน์ อนุรัตน์, สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักบริหารการสาธารณสุข

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย