ผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กระบวนการสะท้อนคิด ต่อสมรรถนะการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
คำสำคัญ:
Integrated instruction, Reflective thinking, Promoting smoking cessationบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบ และกระทบต่อเศรษฐานะของบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติในวงกว้าง ซึ่งสถาบันการศึกษาพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา บุคลากรด้านสุขภาพ ให้มีศักยภาพในการควบคุมบุหรี่เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง (One group pretest–posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสะท้อนคิด ในการบูรณา การเนื้อหาการส่งเสริมการเลิกบุหรี่กับวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 32 คน ในปีการศึกษา 2554 ที่ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยฝากครรภ์ และห้องคลอด โรงพยาบาลสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมการเลิกบุหรี่ คู่มือปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ แบบบันทึกประสบการณ์เรียนรู้ แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิความเชื่อมั่นของ แบบประเมินความรู้เท่ากับ 0.86 แบบประเมินทัศนคติ และทักษะในการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ของนักศึกษา พยาบาล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.83 และ 0.87 ตามลำดับ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2555 โดยให้นักศึกษาประเมินตนเอง ร่วมกับการทำ Focus group วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองความรู้และทักษะในการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ของนักศึกษา พยาบาล สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนทัศนคติในการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหา การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ 1 ส่งเสริมให้นักศึกษา ได้เชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ไปสู่การลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง และการใช้กระบวนการสะท้อนคิด ในการเรียนการสอนมีผลทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการคิดทบทวน สิ่งที่ได้ทำ และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้กับเพื่อนคนอื่นๆจึงเกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจจนก่อให้เกิดทักษะในการปฏิบัติ
Abstract
There is a pandemic of tobacco usage, which has an impact on the health and the economic status of individuals, families and society. To develop the knowledge of professionals, attitude and potential for health professional in order to promote smoking cessation is the important role of nursing education institutes. This study was quasi experimental research with one sample group and the aim to study the results of integrated instruction with reflective thinking related to promoting smoking cessation in the Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum I course. The group consisted of 32 junior nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok in the academic year 2554, which were practicing in Antenatal Care Unit and Delivery room at Samutprakarn Hospital. The research instruments in this study included the integrated lesson plan for promoting smoking cessation, learning experience records, and an assessment form related to knowledge, attitude and skills of nursing students in promoting smoking cessation. The samples were asked to complete the self-assessment form and joined group discussions. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, paired t-tests and content analysis.
The results after the experiment showed that knowledge and skills of nursing stud ents in promoting smoking cessation were statistically significant higher than before the experiment at the .01 level. However, the attitude in promoting abstinence before and after the experiment was not different. According to were encourage students to link theoretical knowledge about promoting smoking cessation in a real situation practice, the results reflected that the students have learned to think of what they have learned, as well as share their experiences with others resulting in expanding their understanding and skills.