ความรู้ ทัศนคติ และความพร้อมต่อการเป็นประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คำสำคัญ:
Knowledge, Attitude, Readiness, ASEAN Communityบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความพร้อมต่อการเป็น ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 180 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2554 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป ของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบสอบความความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อการเป็นประชาคมอาเซียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 และ 4) แบบสอบถาม ความพร้อมต่อการเป็นประชาคมอาเซียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษากำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 มากที่สุด (ร้อยละ 28.3) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 89.4) และมีอายุเฉลี่ย 20.16 ปี (S.D. = 1.33)
2. นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับควรปรับปรุงมากที่สุด (ร้อยละ 46.1) รองลงมา คือ ระดับพอใช้ (ร้อยละ 34.4) และระดับควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน (ร้อยละ 14.4) โดยมีคะแนน ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเฉลี่ย 4.17 คะแนน (S.D. = 1.51)
3. นักศึกษามีทัศนคติต่อการเป็นประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 66.7) รองลงมา คือ ระดับ พอใช้ (ร้อยละ 31.1) และระดับดีมาก (ร้อยละ 2.2) โดยมีคะแนนทัศนคติต่อการเป็นประชาคมอาเซียน เฉลี่ย 3.74 คะแนน (S.D. = 0.38)
4. นักศึกษามีความพร้อมต่อการเป็นประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 63.3) รองลงมา คือ ระดับดี (ร้อยละ 30.6) และระดับควรปรับปรุง (ร้อยละ 4.4) โดยมีคะแนนความพร้อมต่อการเป็นประชาคม อาเซียนเฉลี่ย 3.35 คะแนน (S.D. = 0.49)
Abstract
The descriptive research were to study about knowledge, attitude, and readiness to ASEAN Community of the students from Faculty of Nursing, Princess of Naradhiwas University. The samples were 180 students from the 1st to the 4th year, 2011. The data was collected during September 2011.
The questionnaires used to collect data consisted of 4 parts. The first part was demographic data. The second part was student’s knowledge about ASEAN Community, the reliability was 0.70. The third part was student’s attitude of ASEAN Community, the reliability was 0.73. The forth part was student’s
readiness of ASEAN Community, the reliability was 0.84. Data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The results were concluded as the following:
1. The most of demographic data was 4th year (28.3%), 89.4% was female and average age was 20.16 years old (S.D. = 1.33).
2. The most of poor about knowledge of ASEAN Community (46.1%). Than actually to improve 34.4% and 14.4% respectively, the mean of knowledge score 4.17 (S.D. = 1.51).
3. The attitude of ASEAN Community, most of student had good attitude of ASEAN community 66.7 %. Than satisfy and great 31.1 % and 2.2 % respectively, the mean of attitude score 3.74 (S.D. = 0.38).
4. The readiness of ASEAN Community most of them satisfy 63.3% and inferior to be good and should be improved 30.6% and 4.4% respectively, the mean of readiness score 3.74 (S.D. = 0.38).