ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุน จากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • สุดกัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ 45 ถ.อรรถกวี ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

คำสำคัญ:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, การสนับสนุนจากครอบครัว, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก, health promotion, family support, primigravida adolescents

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (1996) และแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกจำนวน 33 ราย ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วยคู่มือส่งเสริมสุขภาพ บัตรคำอาหาร แผนการสอน และภาพพลิกเรื่องพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และแบบสอบถามการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และความเชื่อมั่นได้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.93 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ ด้วยการใช้สถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัวมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวม และรายด้านดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ยกเว้นด้านการพัฒนาทาง
จิตวิญญาณ
    ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และให้สมาชิกในครอบครัวมี
ส่วนร่วมในการสนับสนุนหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม

คำสำคัญ : พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ  การสนับสนุนจากครอบครัว  หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก


Abstract
    This quasi-experimental study aimed to examine the effects of using the health promoting behavior of primigravida adolescents. Pender Health Promotion Program Model (1996) and House’s Social support concept (1981) were used as a guideline for health promoting behavior. The samples consisted of 33 primigravida adolescents, who attended the antenatal care at Sawanpracharak
Hospital. The samples received the health promoting program with family support. The instruments were used in the study included booklet, nutrient cards, lesson plans and flip charts. The instruments for collecting data were the health promoting behavior questionnaire and family support
questionnaire. All questionnaires were tested for content validity by a panel of experts. The Cronbach’s alpha coefficient were 0.93 and 0.95, respectively. Data were analyzed by using frequency,
percentage, mean, standard deviation and Dependent t-test.
    The results found that the health promoting behavior of primigravida adolescents after
receiving the health promoting program with family support was significantly higher than before receiving the program (p<0.01), except in the spiritual growth.
    The researcher suggests that nurses should provide health promoting activity to primigravida adolescents. Additionally, family should support primigravida adolescents to take care themselves in appropriate health promoting behavior.

Keywords : health promotion; family support; primigravida adolescents

Author Biography

สุดกัญญา ปานเจริญ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ 45 ถ.อรรถกวี ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย