ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการเขียนบันทึกสะท้อนคิด
คำสำคัญ:
Reflection, Cognitive skills, Nurse students, Reflective Journalบทคัดย่อ
บทคัดย่อการเขียนบันทึกสะท้อนคิดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาแก่ผู้เรียน
การศึกษานี้เป็นการวิจัยผสมผสานเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการเขียนบันทึก
สะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 202 คน การวิจัยดำเนินร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลหลังการมอบหมายให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดในรายวิชาจำนวน 7 ครั้ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนบันทึกสะท้อนคิด ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการเขียนบันทึกสะท้อนคิดเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ ช่วยพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเอง และพัฒนาทักษะการเขียน อย่างไรก็ตามพบว่ามีปัญหาหลายประการที่เป็นอุปสรรคของนักศึกษาในการเขียนบันทึกสะท้อนคิด ปัญหาดังกล่าวได้แก่ การเชื่อมโยงความคิดไม่ได้ ความยากในการเลือกประเด็นที่จะเขียนบันทึก และการขาดทักษะในการเขียนเรียงความ
เป็นต้น ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการเขียนบันทึกสะท้อนคิดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญา ผลการศึกษาเสนอแนะให้อาจารย์พยาบาลสนับสนุนให้
นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดโดยกำหนดแนวทางและการประเมินผลที่ชัดเจน ตลอดจนจัดเตรียม
ห้องสมุดและระบบสารสนเทศเพื่อเกื้อหนุนการศึกษาค้นคว้าข้อมูลสำหรับเขียนบันทึกสะท้อนคิด
คำสำคัญ : การสะท้อนคิด ทักษะทางปัญญา นักศึกษาพยาบาล บันทึกสะท้อนคิด
Abstract
Reflective journal is a learning activity that enhances cognitive skills. This study is a
mixed-methods research aiming to explore nurse students’ perceptions towards reflective journal. The subjects were 202 second-year nurse students. Phrapoklao Nursing College, Chantaburi. The study was conducted with implementation of subject of ‘teaching and counseling in health’. Data were collected after students were assigned to write reflective journal (7 times). Research instrument was a questionnaire obtaining the perceptions regarding reflective journal. The findings reveal that nurse students considered a reflective journal, beneficial for improving critical thinking, self-awareness, and writing skills. However, there were some challenges for writing reflective journal, including a failure to organize thinking, a difficulty to identify aspect for reflective journal writing, and a lack of writing skill. The research conclusion is that writing journal is a learning activity that promotes
student-centered learning and cognitive skills. The findings suggest nurse instructors to support
students’ reflective journal by providing clear instruction and evaluation. Also, there is a need to provide library and database in order to support student for writing reflective journal.
Keywords : Reflection Cognitive skills Nurse students Reflective Journal