การบ่มเพาะนักสร้างเสริมสุขภาพ: “รู้เรา รู้เขา สุขภาพดีสร้างได้ ด้วยหัวใจของพยาบาล”

ผู้แต่ง

  • สายใจ พัวพันธ์ ลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • สุวดี สกุลคู กลุ่มวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • สาวิตรี หลักทอง กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • จันทนา เกิดบางแขม กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • พรพรรณ ศรีโสภา กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, การพยาบาลด้วยความรักและเมตตา, Health, promotion

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อค้นหาวิธีการบ่มเพาะของอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสมรรถนะของนักสร้างเสริมสุขภาพ ผู้ให้ข้อมูลจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ อาจารย์ผู้สอน 10 คน และพยาบาลพี่เลี้ยง 4 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 29 คน
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนาเชิงลึกรายบุคคลกับอาจารย์ผู้สอนและพยาบาลพี่เลี้ยง และสนทนากลุ่มกับนักศึกษา จากการวิเคราะห์ใจความหลักได้ผลการวิจัย 2 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1: วิธีการบ่มเพาะที่อาจารย์และพยาบาลพี่เลี้ยงใช้มี 6 วิธีคือ 1) สอนให้รักและเมตตาผู้เจ็บป่วย 2) สอนให้ใช้ตัวเองเป็นแหล่งเรียนรู้ 3) สอนให้เห็นความเชื่อมโยงของพฤติกรรมสุขภาพกับความเจ็บป่วย 4) สอนให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) วิธีที่ได้จากการก้าวข้าม “กับดัก” ของการเรียนการสอน และ
6) การเป็นแบบอย่าง
    ส่วนที่ 2: สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามี 6 สมรรถนะ ที่บ่งบอกว่า “รู้เรา รู้เขา สุขภาพดีสร้างได้ ด้วยหัวใจของพยาบาล” คือ 1) การตระหนักรู้ในตนเอง 2) การใช้ตนเองรับรู้ความทุกข์และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย 3) การใช้หลัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” 4) การสร้างสัมพันธภาพที่เข้าถึงจิตใจของผู้ป่วย 5) การสร้างความเชื่อมั่นในการฝึกปฏิบัติ 6) การเชื้อเชิญให้ญาติมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย
    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ในการบ่มเพาะให้นักศึกษามีสมรรถนะเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ ควรเป็นกิจกรรมที่เข้าถึงการรู้คิด ใช้สื่อความให้สังคมทราบทั่วกันได้ว่าการปฏิบัติการพยาบาลด้วยความรักและเมตตามีความสำคัญเสมอกับการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นไปเพื่อการรักษา

คำสำคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพ การพยาบาลด้วยความรักและเมตตา


Abstract
    This qualitative research aimed to explore:1) teaching or planting methods of instructors for baccalaureate nursing science program (BNS program) , and 2) competency of professional health promotion staff.  Informants were purposefully selected. Ten instructors and 4 nurse mentors were individually interviewed and 29 senior students studying in the BNS, participated in 3 separated focus- group. Through thematic analysis, there were 2 sections of research findings as follows:
    Section 1, there were 6 teaching or instructing methods used by instructors and nurse mentors. They taught how to: 1) provide loving and kindness for the patients, 2) use self as a learning resource, 3) be aware of the connection of health behaviors and illness, 4) teach critical thinking skill, 5) teach method of stepping over “ a trap” of teaching-learning approach, and 6) be role model.    
    Section 2, there were 7 competencies of health promotion indicating “Knowing-self,
Knowing-others, being healthy by nurse’s caring mind”. They were: 1) being aware of self, 2) using of self to know a patient’s suffering and needs, 3) empathic understanding, 4) establishing transpersonal relationship, 5) building faith and confidence in practice, and 6) inviting family members for
participation.    
    To cultivate nursing students to be professional health promotion staffs, teaching-learning activity should be able to foster such student to the intellectual level. Both teaching method and competencies could be used to convey the message to society that nursing care of patients with loving and caring mind is always significant for nursing care that supporting treatment.      

Keywords : Health promotion


Author Biographies

สายใจ พัวพันธ์, ลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

สุวดี สกุลคู, กลุ่มวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

อาจารย์ กลุ่มวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สาวิตรี หลักทอง, กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จันทนา เกิดบางแขม, กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

พรพรรณ ศรีโสภา, กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย