การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สลิลดา มั่นคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000
  • วิรดา อรรถเมธากุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางคลินิก, ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, Clinical Nursing Practice Guideline, Head Injury

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การพยาบาลผู้ที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะในระยะแรกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพิการหลงเหลือจากการบาดเจ็บน้อยที่สุด การสร้างและพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกที่ดีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะของโรงพยาบาลราชบุรี  มีการศึกษา 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะของโรงพยาบาลราชบุรี  ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแนวทางการรักษาการบาดเจ็บที่ศีรษะจังหวัดยโสธร (Yasothon  Clinical  Practice Guideline  for  Head  Injury) และแนวทางในการปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บขั้นสูงของ Advance Trauma Life Support (ATLS)1 และผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามขั้นตอนของแนวปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นแพทย์และพยาบาลจำนวน 10 ท่าน ได้ค่าความตรงดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.67-1.00  ระยะที่ 2 คือ การประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลราชบุรี เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ  ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ด้านความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.67-1.00 ผู้วิจัยได้ปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะ  และนำไปทดลองใช้ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.879 กลุ่มตัวอย่างคือแพทย์และพยาบาลผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะด้วยสถิติความถี่และร้อยละ
    ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โรงพยาบาลราชบุรีมีคุณภาพ แพทย์และพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในระดับมากที่สุด เท่ากับร้อยละ 100
    ดังนั้นแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะของ
โรงพยาบาลราชบุรี  สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางคลินิก  ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

Abstract
    Among patients experiencing head injuries, immediate nursing management to prevent
complications and mobility in the rest of their lives is the most importance. The objectives of this study were to: 1) develop the clinical practice guideline to prevent adverse outcomes from head trauma in patients admitted at Ratchaburi Hospital, and 2) to assess how this guideline worked. This study was divided into 2 phases. The first was the development of the standard of practice of
complications’ prevention. This was applied from the combination of the Yasothon Clinical Practice Guideline for Head Injury and the Advance Trauma Life Support (ATLS). The guideline was approved by 5 experts. The Congruent Index was 0.67-1.00. Corrections were done by their suggestions.
The second phase was an assessment of an effectiveness of the developed guideline. A questionnaire was used as a tool to investigate ideas from users after implementing the recommendations on patients with head traumatic patients. It was approved by 3 experts. Content validity was 0.67-1.00, while the Cronbach Alpha Coefficient was 0.879. The samples were 30 doctors and nurses involving care for head injury patients.
    It was found that 100% of the samples scored their ideas in the highest levels. All participants agreed with the standard of practice in the guideline. This can be inferred that the clinical practice guideline can be used as a tool to effectively provide care for this group of patients.

Keywords : Clinical Nursing Practice Guideline,  Head Injury



Author Biographies

สลิลดา มั่นคง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการ โรงพยาบาลราชบุรี

วิรดา อรรถเมธากุล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย