ผลของการใช้สัญญาการเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
สัญญาการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษาพยาบาล, Learning Contracts, Learning Achievement, Nursing Studentsบทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล
กลุ่มที่เรียนโดยใช้สัญญาการเรียนและกลุ่มที่เรียนโดยวิธีสอนปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียนโดยใช้สัญญาการเรียนและกลุ่มที่เรียนโดยวิธีสอนปกติหลังการสอน
3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียน โดยใช้สัญญาการเรียนระหว่างก่อนการสอนและหลังการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ จำนวน 88 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 44 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนที่ใช้สัญญาการเรียนและแบบสอบความรู้ที่ผู้วิจัย
สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มที่เรียนโดยใช้สัญญาการเรียนหลังการสอนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยวิธีสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียน โดยใช้สัญญาการเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : สัญญาการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษาพยาบาล
Abstract
The purposes of this quasi-experimental research were: 1) to describe the learning
achievement of nursing students who were taught by learning contracts and those who were taught by traditional method, 2) to compare the learning achievement of students between the intervention and the control group, and 3) to compare the students’ test scores before and after implementing the learning contracts intervention. Eighty eight first-year nursing students from Boromarajonani College of Nursing, Chiangmai, were randomly assigned to the intervention (n =44) and control (n= 44) groups. Additionally, participants in the two groups were matched on variables that might affect the learning achievement of students. The research instruments were the developed lesson plans with learning contracts and questionnaire. The testing scores were analysed by mean and standard
deviation. Student’s t-test was used to find differences between the learning achievement scores of the two groups. The results showed that the learning achievement scores of the intervention group was statistically significant higher than the control group (p< .05). For the intervention group, the post-test mean score (after implementing the lesson plans with learning contracts) was statistically significant higher than pre-test score (p< .05).
Keywords : Learning Contracts, Learning Achievement, Nursing Students