ความพึงพอใจในการฝึกทักษะตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา*

ผู้แต่ง

  • สุชาดา วงศ์สวาสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 177 ถ.ช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
  • เพ็ญรุ่ง ศรีทรัพย์พานิช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 177 ถ.ช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
  • สุภาวดี ไชยเดชาธร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 177 ถ.ช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

satisfaction, culture, students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการฝึกทักษะ  ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการฝึกทักษะขับร้อง นาฏศิลป์ และคีย์บอร์ดตามโครงการพัฒนา และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม และความต้องการและข้อเสนอแนะในการฝึกทักษะ ตามโครงการพ ัฒนาและส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสีมา

            กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ผ่านการอบรม ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือนกันยายน 2551 สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง จำนวน 92 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความพึงพอใจในด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ                        ด้านกระบวนการฝึกทักษะ และด้านผลการอบรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และการทดสอบ       ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

            ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในการฝึกทักษะตามโครงการพัฒนา และส่งเสริม เอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการฝึกทักษะของนักศึกษา คือ ช่วงเวลาในการฝึกทักษะ  และอายุ โดยอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการฝึกทักษะ ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง  (r = -0.408) ส่วนประเภททักษะ  ที่เลือกฝึกอบรมไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ ในการฝึกทักษะ ของนักศึกษา

            นอกจากนี้นักศึกษาที่เข้าอบรมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการ ฝึกทักษะอื่นเพิ่มเติมในการจัดทำโครงการครั้งต่อไป ได้แก่ทักษะ ดนตรีไทย ลีลาศ การเต้นรำ เปียโน การแกะสลักผักผลไม้  การวาดภาพ การละเล่นแบบไทย และการทำขนมไทย  รวมทั้ง ข้อเสนอแนะในการจัดอบรมครั้งต่อไป นักศึกษาส่วนใหญ่จากทุกทักษะมีความเห็นว่า ควรมีห้องเรียนที่เหมาะสมสำหรับทักษะต่างๆโดย เฉพาะ และมีอุปกรณ์ที่เพียงพอ

Abstract

            This research aimed to study satisfaction on skill practice, factors related to satisfaction on 3 skills; singing, theatrical arts and playing keyboard through the development and promotion           of culture identity project for nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima.  The sample consisted of 92 students participated in the project during                      June to September 2008 practicing two hours per week for 30 hours. Data were collected by    using questionnaires consisted of personal information, satisfaction in the primary factors of                    this project, skill practice process, and the results of skill practice. the data were analyzed by               the frequency, percentage, standard deviation, Chi-Square test, and testing the Pearson’s product moment correlation coefficient.

            The results showed that nursing students satisfied at the high level in all aspects of                          the development and promotion of culture identity project. The hypothesis testing was found that factors associated with student nurses satisfaction on skill practice were duration of skill practice and students age. There were statistically significant, negative relationship between nursing student’s age and satisfaction of skill practice (p < .01) with the moderate relationship (r = -0.408). In contrast, skill practice types did not correlated with satisfaction of skill practice.                  

            In addition, students suggested about their needs for the other additional practice skills for the next project including Thai music, dance, piano playing, fruit and vegetable carving, painting, Thai amusement and Thai sweetmeat.  Suggestions for the next training from most of the students from all the skills were that college should provide in the classroom with both appropriate and adequate equipments for particular skills.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-22

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย