ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในการฝึกปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ผู้แต่ง

  • ชนิดา มัททวางกูร มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 โทร.0-2867-8088, 0-2868-6000 แฟกซ์ 0-2457-3982, 0-2467-3174 E-mail : [email protected]
  • สุขศิริ ประสมสุข มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 โทร.0-2867-8088, 0-2868-6000 แฟกซ์ 0-2457-3982, 0-2467-3174 E-mail : [email protected]

คำสำคัญ:

satisfaction, perception of self-competency, learning achievement, competency, community health nursing

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในการฝึกปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2549 จำนวนทั้งสิ้น 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ด้านข้อมูลส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ และเติมข้อมูลในช่องว่าง จำนวน 8 ข้อ ส่วนที่ 2 ด้านความพึงพอใจในการฝึกปฏิบัติวิชา การ พยาบาลอนามัยชุมชน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 13 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .893 และส่วนที่ 3 การรับรู้ ความสามารถในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 35 ข้อ มีค่าแอลฟ่าเท่ากับ .937 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์   ใช้ ค่าสหสัมพันธ์ของเปียร์สัน และไคสแควร์

                ผลการวิจัย

                1. ประชากรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน การรับรู้ความสามารถของตนเองในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาคทฤษฎีวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 77.8, 72.2 และ 46.4 ตามลำดับ) ส่วนสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ส่วนมากอยู่ใน ระดับดี (ร้อยละ 58.3)

                2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ (c2  = 5.608, p = .018) และการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน (r = .543, p < .001)

Abstract

                This descriptive research aimed to study the relationship between personal factors,      satisfaction, perception of self-efficacy, learning achievement, and competency in Community Health Nursing Practice. The sample was 72 students in the 4th year, Faculty of Nursing, Siam University in the academic year 2006. The research instrument was a questionnaire which devided into 3 parts. Part 1 was the personal factors, consisted of 8 items which was filled in the blank or choices chosen.  Part 2 was the satisfaction of Community Health Nursing Practice, consisted of 13 items which was rating scale which reliability calculated by Cronbach’s alpha coefficient was .893. And part 3 was the perception of self-efficacy in Community Health Nursing Practice, consisted of 35 items which was rating scale which reliability by Cronbach’s alpha coefficient was .937.        Statistics used were descriptive statistics: percentage, mean, and standard deviation; and analytic statistics were Pearson’s Product Moment Correlation, and Chi-square test.

                The findings showed as follows:

                1. Most of samples had the satisfaction, perception of self-efficacy in Community Health Nursing Practice, and learning achievement in theoretical of Community Health Nursing at the moderate level (77.8%, 72.2%, and 46.4% respectively), while competency in Community Health Nursing Practice was at the good level (58.3%).

                2. Factors correlated to competency in  Community Health Nursing Practice were gender (c2  = 5.608, p = .018), and self-efficacy in Community Health Nursing Practice (r = .543, p < .001).

เผยแพร่แล้ว

2012-06-22

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย