การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2545 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ The Curriculum Evaluation of Bachelor Degree in Nursing Science Program, B.E.2545 Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ชิดนายี Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit,
  • มณฑา อุดมเลิศ Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit,

คำสำคัญ:

curriculum evaluation, Bachelor Degree in Nursing Science Program, Public Health Officer

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สำคัญในการประเมินคุณค่าและความเหมาะสมของหลักสูตร การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตพ.ศ.2545 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี อุตรดิตถ์ โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP model) ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย นำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุข ชุมชน) ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 50 คน หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาล จำนวน 3 คน พี่เลี้ยงแหล่งฝึก จำนวน 14 คน อาจารย์ผู้สอน ผู้บริหารหลักสูตร และผู้บริหารวิทยาลัย จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทดสอบ ความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของ ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ .89 และแบบ สัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                    1.  วัตถุประสงค์หลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ การศึกษาพ.ศ. 2542 อยู่ในระดับมากที่สุด (, SD = 4.45, 0.64; , SD = 4.38, 0.88) ตามลำดับ โครงสร้างของ หลักสูตร เป็นประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพในระดับมากที่สุด (, SD = 4.32, 0.72)

                     2. ปัจจัยนำเข้าด้านนักศึกษา สถาบันพระบรมราชชนกมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียนไว้ชัดเจน ผู้เรียนส่วนมากเข้าเรียนเนื่องจากมีความชอบในวิชาชีพพยาบาลร้อยละ 54

                    ปัจจัยนำเข้าด้านอาจารย์ผู้สอนอาจารย์ส่วนมากมีคุณวุฒิปริญญาโท อัตราส่วนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ของสภาการพยาบาล อัตราส่วนอาจารย์ วุฒิปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เท่ากับ 3.66 ต่อ 5.85 ต่อ 0.49 ผู้สำเร็จการศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( , SD = 4.12, 0.72)

                    ปัจจัยนำเข้าด้านอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด แหล่งฝึกพบว่า ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ  และด้านความสะดวกในการใช้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (, SD = 3.59, 1.53)

                    3.  ด้านกระบวนการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (, SD = 4.18, 0.63) ด้านอาจารย์ที่ ปรึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (, SD = 4.26, 0. 65) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก 
(, SD = 4.15, 0.63) การวัดและประเมินผลการศึกษาอยู่ในระดับมาก (, SD = 4.19, 0.62) 

                    4.  ด้านผลผลิต พบว่าส่วนมากมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.00-4.00 ร้อยละ 64.70  ผลการสอบวัดความรู้ เพื่อขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลของสภาการพยาบาลครั้งที่ 2/2553 มีผู้สอบผ่าน 8 รายวิชาในการสอบครั้งแรกร้อยละ 70 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก
(, SD= 4.18, 0.86)

                ผลการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงการจัดการศึกษา เช่น การปรับเพิ่มรายวิชาที่สามารถนำไปใช้ ในการปฏิบัติงานในชุมชนได้แก่ วิชาการรักษาเบื้องต้น และวิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ ตลอดจนควรมีการปรับปรุงปัจจัยเกื้อหนุน

 

ABSTRACT

This descriptive research aimed to evaluate the Bachelor Degree in Nursing Science Program, B.E.2545. This study used CIPP Model which examined context, input, process, and product of the program. The participants were 50 graduated, provided for experienced public health officers in 2006,
3 head nurses, 14 clinical mentors, 4 instructors including a course manager, an executive, and 2 instructors. A questionnaire was developed to evaluate the curriculum with Cronbach's alpha coefficient (.89). In depth interview and focus group were used for data collection. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis.

The results were as follows:

1. The purposes of this curriculum were consistent with the needs of the community and the purposes of the Education Act 2542 at the highest level (, SD = 4.45, 0.64; , SD = 4. 38, 0.88). Structure of the course was useful for the profession at the highest level (, SD = 4.32, 0.72).

2. For the input of the program, Praboromrajchanok Institute has set qualifications of eligible applicants clearly. The reason for commencing the course was a preference of nursing career 54%.
Instructor ratio for Bachelor: Master: Doctoral was 3.66: 5.85: 0.49, which did not meet the standard of Thai Nursing Council. The graduated nurses evaluated the instructors at a high level (, SD = 4.12, 0.72). The qualities and quantities of facilities such as classrooms, laboratories, and field sites were at a high level (, SD = 3.59, 1.53).

3. For the process of the program, the teaching process was reported at a high level (, SD = 4.18, 0.63). Advisory system was at the highest level (, SD = 4.26, 0. 65), whereas teaching and learning, and evaluation process were rated at a high level (, SD = 4.15, 0.63; , SD = 4.19, 0.62).

4. For the product of the program, 64.7% of graduated student had GPA 3.00-4.00 and 70.59 % of graduate nurses passed the National Nursing License (2/2553) examination at the first time. The
competency scores of newly graduate nurses for overall and for each aspect were at a high level (, S.D= 4.18, 0.86).

The finding of this study could be applied for improving the program. For instance, more subjects that could be used in the communities such as Primary Medical Care and Maternal and Child Care should be added in the program. Moreover, supporting factors should be improved.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย