การศึกษาความต้องการของผู้รับบริการในการให้บริการของศูนย์เด็กเล็ก ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
Needs, the clients, the center childrenบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาความต้องการของผู้รับบริการในการให้บริการของศูนย์เด็กเล็กในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามแนวปฏิบัติเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานเดียวกันของศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2548 ประกอบตามมาตรฐาน 6 ด้านคือด้าน 1) การส่งเสริมสุขภาพ 2) การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3) ด้านบริการอาหารสะอาด ปลอดภัย 4) ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดปลอดภัย 5) ด้านบุคลากร และ 6) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความต้องการของผู้รับบริการในการให้บริการของศูนย์เด็กเล็ก และความต้องการในการอบรมของผู้รับบริการในศูนย์เด็กเล็ก
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 โดยมีค่าความเชื่อมั่นด้านต่าง ๆ คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพเท่ากับ .88 ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเท่ากับ .86 ด้านบริการอาหารเท่ากับ .86 ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัยเท่ากับ .85 ด้านบุคลากรเท่ากับ .88 ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง มีความเกี่ยวข้องเป็นมารดา โดยส่วนใหญ่มีอายุ
26 - 35 ปี (ร้อยละ 51.9) จบการศึกษาระดับต่ำกว่า ปวช/ปวส (ร้อยละ 53.4) ประกอบอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 60.9) มีรายได้ 5,000 - 10,000 บาท/เดือน (ร้อยละ 63.3) บุตรที่ใช้บริการที่ศูนย์เป็นบุตรคนที่ 1 (ร้อยละ 47.2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการในการให้บริการของศูนย์เด็กเล็ก ในระดับมาก (= 4.12
SD = .82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการในการให้บริการของ
ศูนย์เด็กเล็ก ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยความต้องการในการให้บริการมากที่สุดได้แก่ ด้านบุคลากร (= 4.35 SD= .70) ตามด้วยด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (= 4.19 SD= .77 ) ด้านบริการอาหาร (= 4.19 SD = .82) ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัย (= 4.13 SD = .82) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ (= 4.11 SD = .89) และด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (= 3.75 SD = .96) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้รับบริการมีความต้องการการให้บริการในด้านต่างๆ
ตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ในระดับมาก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ปกครอง
คำสำคัญ : ความต้องการ ผู้รับบริการ ศูนย์เด็กเล็ก
ABSTRACT
The descriptive research aimed to study the needs of the clients in the preschool Child Development Center in the care of local government organization, SuratThani Province in practice by the same standard of the Livable Child Center preschool, the Department of Health, the Ministry of Public Health year 2548. The six standards were: 1) Health Promotion, 2) Child Development Promotion, 3) Clean and Safe Food Service, 4) Clean and Safe Environment, 5) Personnel, and 6) Parents, community and local government organization’ cooperation. The research instruments had 3 parts covered 6 standards: general information, the needs of the clients in the Child Development Center preschool, and the needs for training of the clients in the Child Development Center preschool. It reliability was .89 and the reliability of the six standards of the questionnaire were: Health
Promotion (.88), the Child Development Promotion (.86), the Clean and Safe Food Service (.86), the Clean and Safe Environment (.85), the Personnel ( .88) and the Parents, community and local
government organization’ cooperation (.90). The data were analyzed by using the percentage, means and Standard Deviation.
The findings indicated that the samples were females, being mother, average age were between 26-33 ( 51.9 percents) and their education were lower than vocational certificate/ high vocational certificate ( 53.4 percents). Their careers were merchants and employees (60.9 percents) and average income about 5,000 – 10,000 baht per a month. The child was the first child (47.2 percents). The needs of the most samples were to have higher level of service ( = 4.12, SD = .82). The results were found that the samples needed the higher level of all standards. The most needed of the highest service were: the personnel (= 4.35, SD = .70), the Child Development Promotion (= 4.19, SD = .77), the Clean and Safe Food Service (= 4.19, SD = .82 ), Clean and Safe Environment (= 4.13, SD = .82), Personnel (= 4.11, SD = .89), and the Parents, community and local government organization cooperation. (= 3.75, SD = .96) respectively.
The result of the study revealed that the clients needed higher level services of all standards of preschool Child Development Center, and that the responsible organization and the administrators should support and promote working in order to provide the efficient work and meet the clients’ needs.
Keywords : Needs, the clients, the center children