ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเสพติด

Main Article Content

นุชนาถ แก้วมาตร
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
พิชามญชุ์ ปุณโณทก
ภาคิณี เดชชัยยศ
ศรวิษฐ์ บุญประชุม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) ความตั้งใจในการเลิกสารเสพติด (3) การมองโลกทางบวก (4) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ (5)  แรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85, .77, .70 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ

                ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 39.22 ของเยาวชนมีความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และปัจจัยที่สามารถทำนายความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดได้แก่ ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม (β =.39, p <0.001) โดยสามารถทำนายความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของเยาวชนที่ใช้สารเสพติดได้ร้อยละ 15

 

Abstract

                The purpose of this descriptive research was to examine the factors influencing intention to drug abstinence among youths experiencing substance abuse. Participants were 102 youths experiencing substance abuse who were under the rehabilitation treatment at Wiwatphonlamuang School, Thai Royal Navy in the province of Chonburi. Research instruments included (1) Demographic Questionnaire (2) the Intention to Drug Abstinence Questionnaire (3) the Rosenberg’s Self-esteem (4) the Life Orientation Test or LOT-R and (5) the Social Support Scale. The Cronbach’s alpha coefficients of instruments in part 2, 3, 4 and 5 were 0.85, 0.77, 0.70 and 0.93, respectively. The data were analyzed by descriptive statistics, Pearson's product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression.            

The results revealed that 39.22% of youths experiencing substance abuse had an intention of drug abstinence score in the medium-high level. The significant factor which predicted the intention of drug abstinence was the social support (β =0.39, p <0.001). The percentage of variance explained by this factor among these youths was 15.00 %. 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ