สมรรถนะการพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพ เขตบริการสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

จุไรรัตน์ วัชรอาสน์
วารุณี มีหลาย
อัจฉรา พิทักษ์ศิลป์
พีรภาพ คำแพง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะการพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพ เขตบริการสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามประสบการณ์ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต และการได้รับการพัฒนาด้านความรู้ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต   กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพทุกคนซึ่งปฏิบัติงานดูแลทารกแรกเกิดวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ทั้งในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์  จำนวน 102 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบสอบถามสมรรถนะการพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤต มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ใช้การทดสอบค่าเอฟ สถิติค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า

  1. สมรรถนะการพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤตของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับดี  ด้านทัศนคติ บุคลิกภาพ และคุณลักษณะมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.80) ส่วนด้านนวัตกรรมและวิจัยทางการพยาบาลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด      (  = 3.26)
  2. กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต ต่างกันมีระดับสมรรถนะการพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการพัฒนาด้านความรู้ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤตต่างกันมีระดับสมรรถนะ การพยาบาลทารกแรกเกิดวิกฤตไม่แตกต่างกัน

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลวิชาชีพควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาด้านนวัตกรรมและวิจัยทางการพยาบาลซึ่งเป็นสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study and compare the competency in critical neonatal care of Professional Nurses of Health Service Provider Board Office 6, Ministry of Public Health that was divided into critical neonatal care experience and critical neonatal care training acquirement. The samples were 102 professional nurses working on critical neonatal wards in general and central hospitals. Research instruments were a general information questionnaire and a questionnaire about the competency of critical neonatal care. The reliability (Cronbach’s Alpha Coefficient) was .97. The data were analyzed by using mean, standard deviation, Dependent t-test, F-test, and One-way ANOVA.

The results demonstrated that: 1) competency in critical neonatal care including all domains and sub-domains, were at a good level. Attitude, personality and characteristic domain yielded the highest score (  =3.80) whereas innovation and nursing research domain yielded the lowest (  =3.26), 2) The competency in critical neonatal care nurses with experiences were significantly different at p-value .05, 3) the competency in critical neonatal care of nurses being different in critical neonatal care training were not significantly different. 

In conclusion, professional nurses should be encouraged and supported to improve in innovation and nursing research domain for competency in critical neonatal care.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ