ผลของชุดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร กรณีศึกษาตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากยังนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงตามต้องการโดยไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีดังกล่าวเป็นเวลานาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง เพื่อศึกษาผลของการจัดชุดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวคิดกระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรในหมู่ที่ 8-15 ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 27 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดระดับเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.26) อายุ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 40.74) เกษตรกรทั้งหมดทำการเพาะปลูกด้วยตนเอง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยทางอ้อมและเป็นผู้ฉีดพ่นสารเคมีด้วยตนเอง (ร้อยละ 40.74) และเกษตรกรที่เข้าร่วมชุดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 5 เดือน มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 51.85) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่เมื่องดเว้นการจัดกิจกรรมดังกล่าวติดต่อกันนาน 8 เดือน พบระดับเอนไซม์ในเลือดเกษตรกรลดลง (ร้อยละ 40.74) สะท้อนให้เห็นว่าการจัดชุดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระดับเอนไซม์เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้นอกจากนี้เกษตรกรทั้งหมดยังเห็นด้วยกับการทำเกษตรอินทรีย์ และตระหนักถึงความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ดังนั้นการจัดชุดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เสริมสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาการทำงานร่วมกัน ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคต่อไป
Abstract
Pesticides are still extensively used by farmers to produce desirable agricultural products. Most farmers are not aware of their health problems resulting from long-term pesticide exposure. This research was a one-group pretest-posttest design study aimed to investigate the effects of organic agriculture learning package on cholinesterase levels in farmers by applying Health Belief Model and Group Process Theories. The data were cholinesterase levels purposively collected from 27 farmers in Narerk sub-district, Phanat Nikhom district, Chonburi. Descriptive statistics and paired t-test were used for data analysis.
The results showed that most farmers were females (59.26%), aged 60 years and older (40.74%). All participants were farmers who cultivated by themselves and most were exposed to pesticides via indirect and direct contacts (40.74%). It was found that after the farmers continuously participated in the learning package for at least 5 months, their cholinesterase levels were significantly increased (51.85%, p<0.05). However, when the learning package was suspended for 8 months, cholinesterase levels were decreased (40.74%). These findings illustrated that continuaous participation in the organic agriculture learning package can increase cholinesterase level which could result from abatement of pesticide use. In addition, after participation in this learning package, the farmers agreed with organic agriculture and were aware of the risk and danger of pesticide use.
This organic agriculture learning package should, therefore, be organized continuously in order to stimulate awareness and strengthen collaboration among farmers to lessen pesticide use.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว