ระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในประเทศไทย และเขตโมโจเกอโต จุมบัง หมู่เกาะชวาตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย

Main Article Content

สุดคนึง ปลั่งพงษ์พันธ์
วิไลพร ขำวงษ์
ทานตะวัน แย้มบุญเรือง
Dwiharini Puspitaningsih
Budi Prasetyo

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลไทยและนักศึกษาพยาบาลอินโดนีเซียในเขตโมโจเกอโต จุมบัง ตามปัจจัยเพศ ชั้นปี เกรดเฉลี่ย และที่อยู่อาศัย  ผู้วิจัยนำข้อมูลระดับทุติยภูมิมาจากงานวิจัยในนักศึกษาพยาบาลไทยจำนวน 330 คน และงานวิจัยในนักศึกษาพยาบาลอินโดนีเซียจำนวน 414 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามระดับความเครียดและข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ความแตกต่างของระดับความเครียดระหว่างเพศและที่อยู่อาศัยวิเคราะห์โดยสถิติ Student t-test ความแตกต่างของระดับความเครียดระหว่างชั้นปีและเกรดเฉลี่ยวิเคราะห์โดยสถิติ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.00) มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.00-3.49 (ร้อยละ 55.80) และอาศัยอยู่ในหอพักในสถาบันการศึกษา (ร้อยละ 52.00) ซึ่งนักศึกษาพยาบาลไทยทั้งหมดอาศัยอยู่ในหอพักวิทยาลัย ในขณะที่นักศึกษาพยาบาลอินโดนีเซียอาศัยอยู่ในหอพักของสถาบันเพียงร้อยละ 13.80 ผลการวิจัยยังพบว่า ระดับความเครียดระหว่างนักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.05) โดยนักศึกษาหญิงมีความเครียดสูงกว่านักศึกษาชาย แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับความเครียดระหว่างนักศึกษาพยาบาลไทยและอินโดนีเซียที่มีชั้นปี เกรดเฉลี่ย และที่อยู่อาศัยต่างกัน จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ และบุคลากรควรให้การบริการและการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับเพศหญิง เพื่อช่วยให้จัดการกับภาวะเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ABSTRACT

                This analytical study aimed to compare levels of stress of Thai and Indonesian nursing students related to gender, Year, Grade Point Average) GPA, and accommodation. Data were obtained from the study of 330 Thai nursing students and another study on 414 Indonesian nursing students. Instruments were assessment of stress level, and demographic data questionnaires. Demographic data were analysed using descriptive statistics. Differences of stress level between gender and accommodations were analysed using student t-test. Differences of levels of stress between Year and GPA were analysed using ANOVA.

This study shows that the majority of nursing students were female (78.00%).  More than half of the participants (55.80%) has got GPA 3.00-3.49 and stayed on campus (52.00%). All Thai nursing students stayed on campus (100.0%) while there were only 13.80% of Indonesian nursing students staying on campus. There was a statistical significant difference of stress level between male and female nursing students (p < 0.05). There was no difference of levels of stress between Thai and Indonesian nursing students, and among year, GPA, and accommodations of all nursing students. The results of the study demonstrated a higher stress level in female compared to male nurses. Administrators, lecturers, and staff in nursing college/institute should provide special services and support for female nursing students in order to cope better with stress.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ