ปัจจัยทำนายด้านความเครียดจากงานต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลลำปาง

Main Article Content

ธีรารัตน์ บุญกุณะ
อุษณีย์ วรรณาลัย
เอกรัตน์ ปิ่นประภาพันธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                ปัจจุบันอัตราการลาออกจากงานของพยาบาลไทยมีจำนวนสูงขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกส่วนหนึ่งมาจากความเครียดจากงาน วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายด้านความเครียดจากงานต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลลำปาง

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพจำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ระดับความเครียดในการทำงาน 3) วิธีการจัดการความเครียด และ 4) ความต้องการคงอยู่ของงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิตเชิงพรรณนา และการหาปัจจัยทำนายด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

                ผลการวิจัยพบว่าความเครียดจากงาน ด้านภาระงาน ด้านความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน และวิธีการจัดการความเครียด ด้านการเผชิญปัญหา ด้านการมองโลกในแง่ดี ร่วมกันทำนายร้อยละของความต้องการคงอยู่ในงานปีปัจจุบันลดลงร้อยละ 15.00    (p < .001) และความเครียดจากงาน ด้านภาระงาน และด้านขาดแหล่งสนับสนุน ร่วมกันทำนายร้อยละของความต้องการคงอยู่ในงานในอีก 3 ปีข้างหน้าลดลงร้อยละ 12.80 (p < .001)

หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับภาระงานของพยาบาล การจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร รวมถึงการสนับสนุนการทำงาน และขวัญกำลังใจในการทำงานของพยาบาลให้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ และภาระงานของพยาบาล 

Abstract

At present, these is an increase in nurses’ resignation from work. Most significant factor would be job stress. This research aimed to study the effects of job stress on job retention among registered nurses in in-patient units, Lampang Hospital

The samples were 247 registered nurses. The instruments consisted of 4 parts: 1) demographic data, 2) job stress questionnaire, 3) coping strategies, and 4) questionnaires of job retention. The data was analyzed using descriptive statistics and the predicting factors analysis used multiple regression.

The results showed that a combination of work load, conflict with colleagues, confrontive coping, and optimistic coping were significant predictors of 15.00% decreasing job retention in the current year (p < 0.001). Combined factors of workload and lack of support were significant predictors of 12.80% decreasing job retention in the next three-years 12.80% (p < .001).  

Conclusion: Workload, conflict with colleagues and lack of support were predicting factors on decreasing the percentage of job retention in the current year and the next three-years. The data suggest the organization should pay more attention to nurses’ workload, relationship at work and support job morale and welfare.  

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ