คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคเรื้อรังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศ การเจ็บป่วยที่เรื้อรังยาวนาน จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลท่าช้าง จำนวน 370 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย ค่าความเชื่อมั่น 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตจำแนกตามรายโรคและการรับรู้ระดับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคเรื้อรังพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตจำแนกตามระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่ามีความแตกต่างกันในด้านสุขภาพกาย จิตใจ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวม ส่วนด้านสัมพันธภาพทางสังคมไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดบริการในการส่งเสริมการควบคุมโรคเพื่อลดระดับความรุนแรงและเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้เป็นโรคเรื้อรัง โดยควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงในระดับต่างๆ ตามเกณฑ์การควบคุมโรคเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยเรื้อรังต่อไป
Abstract
Chronic disease is an important public health problems affecting people’s quality of life. This research aimed to study the quality of life among people with chronic illness in the areas of Tha Chang Sub-district Administative Organization, Chanthaburi province. Subjects were 370 chronic illness people who received health care service at Tha Chang health promoting hospital selected using stratified random sampling. Research instrument was the WHOQOL-BREF Scoring in Thai Language. Reliability was 0.9. Data were analyzed using descriptive statistics and one way ANOVA. The findings revealed that the overall quality of life, physical health, psychological and social relationships and environment achieved moderate scores. The total score of quality of life and four domains classified as number of diseases and perceive severity of disease among people with chronic illness were no significant difference. However, the quality of life under physical, psychological, environmental, and overall aspects classified as the level (low-fair-moderate-high) of activity daily living were showed statically significant differences; whereas social relationships were similar among the patients.
The results of this study highlight the importance of promoting disease control and increasing ability to perform daily activity among people with chronic illness in order to improve quality of life. The study of factors influencing quality of life among people with chronic illness is needed for improving quality of health service and quality of life among these people.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว