ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

Main Article Content

อัจฉราพร ยาสมุทร
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อประเมินการมีส่วนร่วม ค้นหาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และระบุปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยทางพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในระดับ         ปานกลาง ( = 2.26, SD = 1.54) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ ไม่รู้จักกองทุนฯ และไม่มีเวลาไปร่วมกิจกรรมของกองทุนฯ โดยมีข้อเสนอแนะว่า จัดให้มีการประชาสัมพันธ์โดยการใช้แผ่นพับหรือเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ในเวลาประชุมหมู่บ้าน และจัดให้มีแผ่นโปสเตอร์หรือจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกองทุนฯ (  = .671) การเป็นกรรมการกองทุนฯ  (  = .564) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนฯ (  = .544) การเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (  = .396) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (  = .302) จำนวนตำแหน่งในชุมชน (  = .254) และความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฯ (  = -.122) โดยตัวแปรทั้ง 7 ตัว สามารถร่วมอธิบายการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้ร้อยละ 30.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าว่า การสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนฯ ควรเน้นการให้ข้อมูลกองทุนฯ กับประชาชน การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในชุมชน การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างคณะกรรมการกองทุนฯ และประชาชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น

 

Abstract

This predictive correlation research was aimed to: 1) assess the people’s participation, 2) explore barriers and suggestions, and 3) identify predictive factors of people’s participation in local health fund management. The samples were 371 participants which were selected by simple random sampling. The instrument was a questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis.

The results revealed that people participated in local health fund at moderate level (Mean = 2.26, SD = 1.54). Two barriers impending participation were 1) unrecognition of local health fund and 2) time constraint. However, the recommendations for participation enhancement were increasing public communication through leaflet, community meetings, posters and newsletters. The other findings showed that receiving local health fund information (  = .671), being a committee of local health fund (  = .564), opinion towards management of local health fund (  = .544), being a village health volunteer (  = .396), regularly exercise (  = .302), the amount of position in community (  = .254), and knowledge regarding local health fund (  =      -.122) accounted for 30% of variation in people’s participation in local health fund with the significance level of p-value < .05.

These results suggest that motivating people to participate in local health fund should be emphasized in giving local health fund information to the public, enhancing a community network, establishing the meetings between local health fund committee and community members in order to share their opinions to achieve partnership participation.

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ