การตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสำนึกขอบคุณฉบับภาษาไทยในนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง

Main Article Content

ดลดาว ปูรณานนท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยประยุกต์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดความสำนึกขอบคุณฉบับภาษาไทยในนักศึกษาด้วยการ
วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 407 คน (ชาย 127 คน หญิง 280 คน) ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน อายุเฉลี่ย 19.91+1.40 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดความสำนึกขอบคุณ ที่ผู้วิจัยนำมาพัฒนาและปรับข้อคำถาม จำนวน 27 ข้อ ให้มีความสอดคล้องกับบริบทสังคมไทย เก็บข้อมูลโดยนักศึกษาตอบมาตรวัดเป็นรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่ามีค่าความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน อยู่ระหว่าง .60 - .1 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
.20 - .51 ค่าความเที่ยงขององค์ประกอบย่อยและทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ .72 .77 .84 และ .89 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์
องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่า โมเดลการวัดของมาตรวัดความสำนึกขอบคุณมีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(X2 = 562.81, df = 301, X2/df = 1.87, GFI = 0.91, AGFI = 0.88, CFI = 0.96, RMR = 0.04, RMSEA = 0.04) โดยมี 3 องค์ประกอบ คือ ความซาบซึ้งต่อบุคคล ความซาบซึ้งต่อสรรพสิ่งรอบตัว และความซาบซึ้งแห่งตน มาตรวัดสำนึกขอบคุณเป็นมาตรวัดที่มีความน่าเชื่อถือในการใช้ในนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ของไทยได้

Abstract
The aim of this research was aimed to validate the Thai version of gratitude scale (T-GS) in students with second order confirmation factor analysis. Participants were 407 students in Faculty of Education (male 127, female 280) were selected by using multi-stage random sampling technique. Their mean age was 19.91+1.40 years. Instrument was the T-GS (27 items) that adjusted to fit with Thai contexts. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation. The second order confirmatory factor analysis
(CFA) was employed to test the fitness of T-GS to the empirical data. The SPSS and LISREL computerized program were used in the analyzed process. The T-GS test by five experts had item objective congruence between .60 - 1.00, item discrimination between .20 - .51 and reliability were .72, .77, .84 and .89 for subscales and total, respectively. Findings revealed
that the 27 items of T-GS model with 3 factors (Appreciation of other, Simple appreciation, and Sense of abundance) was fit with the empirical data (X2 = 562.81, df = 301, X2/df = 1.87, GFI = 0.91, AGFI = 0.88, CFI = 0.96, RMR = 0.045, RMSEA = 0.046). The finding suggested that T-GS is a reliable measure to be used in Thai students in Faculty of Education.

Article Details

บท
การตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสำนึกขอบคุณฉบับภาษาไทยในนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์