ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ณิชนันท์ งามน้อย
พีระพล รัตนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง
เป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงของเนื้อหา และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณา
และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) คณะกรรมการกองทุนฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.90 เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีความเข้าใจในหลักการวัตถุประสงค์ กฎระเบียบของนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพอยู่ที่ระดับดีร้อยละ 59.90 มีการรับรู้ประโยชน์ของกองทุนฯ ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.61 (SD = 0.42) และมีการรับรู้บทบาทของคณะกรรมการฯ ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.52 (SD = 0.44) 2) การจัดโครงสร้างขององค์กรอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.33 (SD = 0.55) และการสื่อสารขององค์กรอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.20 (SD = 0.56) 3) การรับรู้ผลการดำเนินงานกองทุน ด้านการจัดการองค์กรอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.19 (SD = 0.50) ด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกองทุนฯ อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.26 (SD = 0.5) 5) ด้านการสร้างนวัตกรรมตามการรับรู้ของคณะกรรมการกองทุนฯ อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.91 (SD = 0.77) 4) การรับรู้บทบาทของคณะกรรมการฯ โครงสร้างขององค์กร และการสื่อสารขององค์กรสามารถทำนายผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 70.80 (R2 = 0.708) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นควรมีการรับรู้บทบาทของตนเอง มีการจัดโครงสร้างขององค์กรและมีการติดต่อสื่อสารกันที่ดี เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

Abstract
This research aimed to identify the related factors affecting of the local health security fund achievements. Research samples were committees of the local health security fund in Nonthaburi province. Data were collected using questionnaires. The questionnaires were tested for its quality in terms of content validity and reliability (Cronbach’s alpha coefficient= 0.96). Data were analysed using descriptive statistic and Multiple regression analysis.The results showed that 1) most committees
of the local health security fund were public health officials (23.90%). Their understanding about the local health security fund was on a good level (59.90%). Their perception about benefits of the fund was also on a high level ( = 2.61, SD = 0.42), and the perception toward the committees’ roles too ( = 2.52, SD = 0.44). 2) The management of structural organization was indicated at a high level ( = 4.33, SD = 0.55), and the communication in the organization was also indicated
at a high level ( = 4.20, SD = 0.56). 3) The perception of the fund achievement as an aspect of the
organizational management, indicated at a high level ( = 4.19, SD = 0.50) analso were the participation among the fund committees ( = 4.26, SD = 0.55); and the innovation development based on the committees’ perception, ( = 3.19, SD = 0.77). 4) The perception toward the committees’ roles and the communication in the organization were able to predict the local health
security fund achievement of Nonthaburi province with the statistically significant prediction of 70.80%
(R2 = 0.71). The committees of the local health security fund should perceive their roles, organize their structure, and effectively communicate with each other in order to work efficiently.

Article Details

บท
'