ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียด ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

วิไลพร ขำวงษ์
สุดคนึง ปลั่งพงษ์พันธ์
ทานตะวัน แย้มบุญเรือง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ความเครียดเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย ถ้าบุคคลไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดผลเสีย
ทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคลนั้นๆ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับ
สาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบหลายขั้นตอน จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและ
แบบประเมินระดับความเครียด สาเหตุของความเครียดและการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และ
Pearson’s correlation coefficient ผลการวิจัย พบว่าสาเหตุของความเครียดทั้ง 8 ด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ ด้านสาเหตุในอนาคตมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดมากที่สุด (r = 0.54) รองลงมา คือ ด้านการจัดสรรเวลา (r = 0.46) และด้านที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดน้อยที่สุด คือ ด้านระเบียบของสถานศึกษา (r = 0.34) ส่วนการจัดการความเครียดพบว่า มีเพียงสองด้านที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ คือ การจัดการความเครียดโดยการระบายความรู้สึก (r = 0.16) และการทำกิจกรรมนันทนาการด้วยการฟังเพลง (r = 0.11) ผู้บริหารและอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับระยะเวลาเรียน รวมทั้งการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาพยาบาลให้สามารถจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม

Abstract
Stress can occur in all age groups. If the person can not manage the stress appropriately, it can affect both mental and physical health. The purpose of this research was to examine the relationships among levels of stress, causes of stress and stress management in nursing students of nursing colleges under the jurisdiction of Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development.A multi-stage sampling was used for selecting 330 nursing students. Instruments were demographic data questionnaires; and levels of stress, causes of stress and stress management questionnaires. Demographic data were analyzed using descriptive statistics and
Pearson’s correlation coefficient.The results of the study revealed that all aspects
of causes of stress had significantly moderate positive relationships with participants’ stress levels, especially future causes aspect (r = 0.54) and time management aspect (r = 0.46). Institutional rules and regulations aspect had lowest relationship with participants’ stress levels (r = 0.34). Stress management by sharing feelings (r = 0.16) and recreation activities (listening to music) (r = 0.11) had significant low positive relationships with the stress levels. Administrators and nursing instructors would be able to utilize the findings to organize teaching and learning activities to fit with the teaching timetable as well as to develop counselling system to help students manage their stress well.

Article Details

บท
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียด ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัด