ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าซ้ำในกลุ่มผู้ผ่านการบำบัดกลุ่มตัวอย่างคือผู้ผ่านการบำบัดจำนวน 221 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Binary logistic regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย (ร้อยละ 71.04) มีอายุระหว่าง 14 - 61 ปี อายุเฉลี่ย 28.12 ปี มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 61.08) กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 61.54) มีอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 52.48) อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา (ร้อยละ 55.66) ครอบครัวยอมรับและช่วยเหลือ (ร้อยละ 87.78) เข้ารับการบำบัดด้วย Matrix Program มากที่สุด (ร้อยละ 49.32) บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเสพยาบ้ามากที่สุดได้แก่ เพื่อนสนิท (ร้อยละ 50.68) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ปัจจัยเสี่ยง 1 ปัจจัยได้แก่ ระดับการศึกษา (OR = 5.49, p<0.01) และปัจจัยป้องกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ความตั้งใจในการเลิกเสพยาบ้าซ้ำ (OR = 0.88, p=0.03) ความสามารถในการเผชิญปัญหา (OR=0.83, p<0.001) และแรงจูงใจในการเลิกเสพยาบ้า (OR = 0.85, p<0.001) โดยปัจจัยทั้ง 4 พยากรณ์การเสพยาบ้าซ้ำของกลุ่มผู้ผ่านการบำบัดได้ ร้อยละ 74.50 จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำผลการศึกษาไปวางแผนในการป้องกันการเสพยาบ้าซ้ำในกลุ่มผู้ผ่านการบำบัด โดยเน้นส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจและความตั้งใจในการเลิกเสพยาบ้า ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญปัญหาให้แก่ผู้ผ่านการบำบัดเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
Abstract
The purpose of this cross-sectional research was to determine the factors affecting amphetamine relapse among drug addicts after treatment in Sukhothai province. The samples were consisted of 221 addicts after treatment. Data were obtained by using questionnaire, analyzed by using descriptive statistics and binary logistic regression.The results showed that the majority of samples were male (71.04%), age between 14-16 years (mean=28.12), single (61.08%), middle school (Grade 6-8) (61.54%), employee (52.48%), living with father and mother (55.66%), treated by Matrix program (49.32%), influential person were closed friends (50.68). Factors affecting amphetamine relapse among drug addicts after treatment included education (OR = 5.49, p<0.01). Three
protective factors were found including intention to withdraw (OR = 0.88, p = 0.03), coping ability (OR = 0.83, p<0.001), and motivation to withdraw (OR = 0.85, p<0.001) at significant level of 0.05. These four factors could predict Amphetamine relapse rate for 74.50%.These results can be used to strengthen capacity among drug addicts after treatment for relapse preventing. It should be focused on building coping skill and increase motivation and intention for non relapse.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว