การพัฒนาและตรวจสอบโมเดลอิทธิพลของความรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโดยมีเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Main Article Content

อัจศรา ประเสริฐสิน
อุไร จักษ์ตรีมงคล
กาญจนา ตระกูลวรกุล
อมรา วิสูตรานุกูล
ดวงเนตร ธรรมกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลอิทธิพลของความรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโดยมีเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนองครักษ์จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมีค่า IOC = 0.80-1.00 และความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .30, .76 และ .88 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโมเดลอิทธิพลของความรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โดยมีเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นตัวแปรส่งผ่าน พบว่า = 113.50, df = 91, p = 0.06, RMSEA = 0.03, RMR = 0.02, GFI = 0.96,
AGFI = 0.92, Model AIC = 273.50, Saturated AIC = 342.00, Model CAIC = 640.18, Saturated CAIC = 1125.78 แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ อิทธิพลจากความรู้พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนส่งไป
ยังการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน มีขนาดผลรวมอิทธิพลเท่ากับ 0.36 เป็นอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.17 และเป็นอิทธิพลทางอ้อมที่ผ่านเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนเท่ากับ 0.16 นอกจากนี้ อิทธิพลจากเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน (Attitude) ส่งไปยังการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน (Psychomotor) มีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.55 ส่วนอิทธิพลจากความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน (Knowledge) ส่งไปยังเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรม
ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน มีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.29 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคลจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางด้านเจตคติและความรู้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมนักเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้และเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Abstract
Aim of this research was to develop and validate a causal factor model of knowledge that affects the students’health promoting behavior which attitude is mediated variable. The sample consisted of 266 lower secondary school students. The research instruments were knowledge, attitude and health promoting behavior scale with content validity (IOC) range from 0.80-1.00 and
reliability .30, .76, and .88, respectively. A structural equation modeling analysis was employed to analyze data.The results of the study showed that the model that affects the health promotion behavior’s performance by health promotion behavior’s knowledge and affective were mediated variable. These were consistent with empirical data regarding = 113.50, df = 91, p = 0.06, RMSEA = 0.03, RMR = 0.02, GFI = 0.96, AGFI = 0.92, Model AIC = 273.50, Saturated AIC = 342.00,
Model CAIC = 640.18, Saturated CAIC = 1125.78. The influence of knowledge affecting performance showed an overall effect size of 0.34, a direct effect (0.17) and an indirect effect through attitude (0.16).Furthermore, the influence of the attitude of students’ affecting performance had direct influence on the total effect size of 0.55. Finally, the influence of the knowledge of the students affecting the student’s peformance had total effect size of 0.29.The health promoting behaviors of individuals were influenced by attitude and knowledge, so students should be encouraged to change this to achieve healthy behavior.

Article Details

บท
การพัฒนาและตรวจสอบโมเดลอิทธิพลของความรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโดยมีเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรร