พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของ กลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase activity) ในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา ที่ได้จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 389 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลส่วนที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ร่วมกับการตรวจหาระดับCholinesterase activity ในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีระดับ cholinesterase activity ใน serum อยู่ในเกณฑ์ปกติ และพบว่าเกษตรกรที่มีระดับค่า cholinesterase activity ใน serum อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าปกติ จำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ5.65 พบว่าเพศชายมีระดับค่า cholinesterase activity ใน serum ที่ผิดปกติ มากกว่าเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 4.88
พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยรวม ส่วนใหญ่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อยู่ในระดับดี ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.37 (S.D. = 0.1) แยกตามพฤติกรรมการปฏิบัติ พฤติกรรมก่อนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับดี ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 (S.D. = 0.5) ซึ่ง เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง สูบบุหรี่ขณะผสมสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีจำนวนมากที่สุดนอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างไม่ใส่แว่นตาขณะผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พฤติกรรมขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับดี ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.41 (S.D. = 0.3) ซึ่งเกษตรกลุ่มตัวอย่างสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมถุงมือ ถุงเท้า รองเท้าบู๊ทในขณะปฏิบัติงานมีจำนวนมากที่สุด และพฤติกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างไม่ปิดปากและปิดจมูกด้วยผ้าหรือสวมหน้ากากและใส่แว่นตาตลอดเวลาขณะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช พฤติกรรมหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับดี ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.45 (S.D. = 0.4) ซึ่งเกษตรกลุ่มตัวอย่างอาบน้ำ สระผม ฟอกสบู่และเปลี่ยนชุดที่สวมในการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชทันที มีจำนวนมากที่สุด และพฤติกรรมที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ การไม่ติดป้ายแจ้งให้คนอื่นทราบว่าเป็นพื้นที่ที่เพิ่งจะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
Abstract
The purposes of this research were tostudy pesticide usage behavior and bloodcholinesterase activity. Sample included in Mongvillager in Payao Province. The sample wereselected by multi-stage sampling. The self -administered included personal data and behaviorpesticide using and blood samples were collectedfor analysis of the serum cholinesterase level. Thecollected data was analyzed by using descriptivestatistic.
The result showed that most of Mongagriculturists have a normal cholinesterase activityexcept 21 cases (5.65%) which lower than thenormal level. The cholinesterase activity in malewas abnormally lower than that in female (4.88%).The averages scores of pesticide using behaviorwere good (mean = 2.37, S.D. = 0.1). The meanscore of good practice before pesticide using was2.24, S.D. = 0.5. Major problem during preparingpesticide was smoking. Furthermore, we foundthat the other inappropriate behaviors such as thepreparation of pesticide mixtures without wearingprotective glasses. The mean appropriate behaviorscore during pesticide using was 2.41, S.D. = 0.3.The sample in this group showed wearing ofprotective clothes with trousers, shirts, boots andgloves, whereas bad behaviors were not usingmasks, goggles and gloves. Finally, after pesticideusing showed average in good range (mean score= 2.45, S.D. = 0.4). All of subjects in this groupshowered and replaced their dressing after works.An inappropriate behavior for after using was anunnoticed the area that contaminated with thepesticide.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว