ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนลงพุง โรคกินไม่หยุด และภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามีสาเหตุจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยส่วนบุคคลและด้านภาวะสุขภาพเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญ
วัตถุประสงค์การวิจัย : ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับภาวะอ้วนลงพุง โรคกินไม่หยุด และภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิธีดำเนินการวิจัย : รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytical study) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 366 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อประเมินอาการโรคกินไม่หยุด และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q) ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึงเดือนมกราคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวินามแบบพหุ (Multiple binomial logistic regression)
ผลการวิจัย : นักศึกษาไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 60.9 และปัจจัยที่มีอิทธิพลกับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ได้แก่ ปัจจัยความเพียงพอของรายได้ ความรู้สึกเครียดเมื่อถูกล้อเลียนเรื่องรูปร่าง และอาการโรคกินไม่หยุด แต่ไม่พบอิทธิพลของภาวะอ้วนลงพุงต่อภาวะซึมเศร้า
สรุปผล : มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและดูแลสุขภาพของนักศึกษา เช่น การจัดบริการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต การจัดการความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา ส่งเสริมให้นักศึกษามีรายได้หรือลดรายจ่าย การส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง ไม่สนับสนุนการล้อเลียนผู้อื่น การป้องกันและจัดการอาการโรคกินไม่หยุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
World Health Organizations. Depression. [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/depression.
Department of Mental Health, Thailand. Depression in Thailand. [internet]. 2022 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id =31459. (in Thai).
Hfocus. Depression trends in Thailand. [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 6]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27358. (in Thai).
Ayutthaya Provincial Health Office. Annual report 2023. [internet]. 2024 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://ayo.moph.go.th/main/file_upload/subblocks/รายงานประจำปี%202566.pdf. (in Thai).
Meuangkhwa P, Klongdee K, Chaniang S. Depression among Thai undergraduate students: The critical role of higher educational institutions. Journal of Nursing Siam University. 2020;21(41):104-16. (in Thai).
World Health Organizations. Symptoms of depression. [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression.
Department of Mental Health, Thailand. Depression and BED. [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 6]. Available from: https://dmh.moph.go.th/news-dmh/view.asp?id=30874. (in Thai).
Department of Disease Control, Thailand. Obesity. [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 7]. Available from: https://www.pobpad.com.https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=32470&deptcode=brc. (in Thai).
Department of Mental Health, Thailand. BED: Being an eating disorder. [internet]. 2021 [cited 2024 Jan 7]. Available from: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30874. (in Thai).
Kaur J, Dang AB, Gan J, An Z, Krug I. Night eating syndrome in patients with obesity and binge eating disorder: A systematic review. Frontiers in Psychology. 2022;5(12):766827. doi: 10.3389/fpsyg.2021.766827.
Succurro E, Segura-Garcia C, Ruffo M, Caroleo M, Rania M, Aloi M, et al. Obese patients with a binge eating disorder have an unfavorable metabolic and inflammatory profile. Medicine. 2015;94(52):e2098. doi: 10.1097/MD.00 00000000002098.
Educational services, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat university. Number of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat university students. [e-document]. 2023. (in Thai).
Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 2nd edition. New York: Harper and Row; 1967.
Kanchanasuwan K, Jirapornkul C, Maneenin N. Depression among students of a Health Science-Major in Thailand. J Psychiatr Assoc Thailand. 2020;65(4):343-54. (in Thai).
Choosorn P, Sanchaisuriya P. Prevalence and factors related to obesity among working age (15-59 years) in Kud Chap District, Udonthani Province. KKU Journal for Public Health Research. 2020;13(2):26-35. (in Thai).
Chengzhi H, Sheyue X. Eating Disorder: The causes and effects. [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 6]. Available from: https://www.researchgate.net/ publication/371361220_Eating_Disorder_The_Causes_and_Effects.
Surawan W. Prevalence and factor relating to depression of junior high school students in Nam Phong District Khon Kaen province. J Psychiatr Assoc Thailand. 2021;66(4):403-16. (in Thai).
Konttinen H, Van Strien T, Männistö S, Jousilahti P, Haukkala A. Depression, emotional eating and long-term weight changes: A population-based prospective study. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity. 2019;16(28):1-11. doi: 10.1186/s12966-019-0791-8.
Pearlin L. The sociological study of stress. In: Horwitz AV, Scheid TL, editors. A handbook for the study of mental health: Social contexts, theories, and systems. Cambridge: Cambridge University Press; 1999.
Richardson T, Maguire N. Poverty, depression, and anxiety: Causal evidence and mechanisms. Science. 2020;370(6522). doi: 10.1126/science.aay0214.
Selye H. The stress of life. New York: McGraw-Hill; 1976.
Goleman D. Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. 10th edition. New York: Bantam Books; 1998.