ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ

Main Article Content

พัชรินทร์ วรรณโพธิ์
สารนิติ บุญประสพ
สินีนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
นิตยา โพธิ์สาราช
ชนิกานต์ คณาเดิม
อัมพร บัวสัน

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เสียชีวิตทั่วโลก ปัจจุบันมีการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการให้ยาช่วยลดอัตราการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจะช่วยลดการเกิดเป็นซ้ำได้


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ


วิธีการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือด จำนวน 79 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก


ผลการวิจัย : พบว่า ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยมีผลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคน้อยกว่า 2 ปี มีโอกาสมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูงมากกว่าผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมากกว่า 2 ปี อยู่  2.85 เท่า (OR adj=2.85, 95%CI: 1.10-7.38)


สรุปผล : ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความรอบรู้ทางสุขภาพลดลงเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคมากกว่า 2 ปี ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังได้รับการขยายหลอดเลือดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ   

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Health in 2015 from MDGs, millennium development goals to SDGs sustainable development goals. Switzerland: World Health Organization press; 2015.

International Health Policy Program. NCDs “kick off to the goals” [Internet]. 2016 [cited 2018 Aug 24]; Available from: https://www.ihppthaigov.net/publication/ncds-situation-report-no-2-kick-off-to-the-goals-2016. (in Thai).

The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage. Guideline for ischemic heart disease 2014. Bangkok: Srimuang-printing; 2014. (in Thai).

Damrongsin S, Putwatana P, Khuwatsamrit K. Self-care behaviors among patients with coronary in-stent restenosis. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2017;18(2):220-7. (in Thai).

Wongcharoenkiat N, Tresukosol D, Laksanabunsong P, Udompunturak S. A comparison of outcomes between percutaneous coronary intervention versus coronary artery bypass surgery in octogenarian patients. Journal of The Medical association of Thailand. 2012;95(Suppl2):154-64. (in Thai).

Ritpetch N, Jitpanya C, Chimluang J. Relationships among symptom clusters, self-management, health value, sense of coherence, and health-related quality of life in patients with percutaneous coronary intervention. Princess of Naradhiwas University Journal. 2013;5(1): 1-15. (in Thai).

Intarakamhang U. Health literacy: measurement and development. Bangkok: Sukhumvitprint; 2017. (in Thai).

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;67(12):2072-78.

Khumthong T, Potisiri W, Kaedumkoeng K. Factors influencing health literacy for people at risk of diabete mellitus and hypertension of UthaiThani and Ang Thong. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University. 2016;3(6):67-85. (in Thai).

Kumkrong C, Maneesriwongul W, Janpanish P. Relationships of health literacy and knowledge about antiretroviral therapy to medication adherence among people living with HIV. Kuakarun Journal of Nursing. 2014;2(2) : 211-28. (in Thai).

Thorndike R. Correlational procedures for research. New York: Gardner Press; 1978.

Photihung P. Relationship of health literacy to health promoting and disease prevention behaviors in Thailand: A systematic review. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2020;29(3):115-30. (in Thai).

Saeloo J, Samdaengsarn D, Kaewkrachok T. Relationships between selected factors and health literacy among elderly, Mueang district, Nakhon Si Thammarat province. Journal of Buddhistic Anthropology. 2021;6(12):1-14. (in Thai).

Thangkratok P, Boonpradit P, Palacheewa N. Factors predicting health literacy among older adults with chronic diseasesin community. Thai Journal of Cardio- Thoracic Nursing. 2022;33(1): 215-30. (in Thai).

Ruangkiatkul N. Factors associated with health literacy among Thai older adults. Journal of the Department of Medical Services. 2022;47(1):80-6. (in Thai).