ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้รูปแบบ SLA ต่อ ความรู้ ความเครียดและคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยจิตเภทรายใหม่

Main Article Content

ศิรภัสสร ลิมปิติเกียรติ
อนงค์นุช ศาโศรก
ผ่องพรรณ ภะโว

บทคัดย่อ

บทนำ : ผู้ป่วยโรคจิตเภทรายใหม่ หากขาดการรักษาหรือรักษาไม่ต่อเนื่อง เป็นสาเหตุทำให้อาการกำเริบได้ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชหรือการเจ็บป่วยทางจิตซึ่งเป็นกิจกรรมการบำบัดที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจ ตระหนักรู้ และปฏิบัติในการดูแลตนเอง นำไปสู่วิธีการป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้รูปแบบ SLA ในผู้ป่วยจิตเภทรายใหม่


วิธีการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง และติดตามผล ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทรายใหม่ที่เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบ SLA เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคจิตเภท แบบประเมินความเครียด แบบประเมินคุณภาพชีวิต และการติดตามการมาตรวจ ตามนัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม


ผลการวิจัย :  คะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคจิตเภทเพิ่มขึ้น คะแนนเฉลี่ยความความเครียดลดลง และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคจิตเภทรายใหม่เพิ่มขึ้น หลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


สรุปผล : ผลจากโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทรายใหม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง     โรคจิตเภทเพิ่มขึ้น ความเครียดลดลง มีความร่วมมือในการมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. The Department of Mental Health recommends 4 ways to take care of patients with schizophrenia; 2019. [Cited 2021 Nov 5]; Available from http://med.swu.ac.th/msmc/opdpsy/index. php/news-menu/220-2019-06-05-02-48-52.

Department of Mental Health Ministry of Public Health. Annual report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2017. Nonthaburi: Department of Mental Health. Ministry of Public Health; 2017. (in Thai).

Srithanya Hospital. Documents on psychosocial rehabilitation in patients with schizophrenia: Mental Health Studies. Nonthaburi; 2009. (in Thai).

Richmond G, Kenny C, Ahmed J, et al. Health Education and Activity - Lessening The inequalities in mental health (HEA - LTI mental health). BMJ Qual Improv Rep. 2017;6(1):u205156.w3484. doi: 10. 1136/bmjquality.u205156.w3484.

Harvey C. Family psychoeducation for people living with schizophrenia and their

families. BJ Psych Advances. 2018;24(1): 9-19. doi:10.1192/bja.2017.4.

Kijarooncha R. The effect of psychoeducation on rehospitalization in schizophrenic patients. Journal of Mental Health of Thailand. 2012;20(3):132-54. (in Thai).

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Handbook for psychiatric care systems at high risk of violence for Institutions/Hospitals under the Department of Mental Health. Nonthaburi: Prosperous plus; 2020. (in Thai).

Srithanya Hospital. Manual for mental health education group (SLA Program) in patients with schizophrenia (For multidisciplinary personnel). Nonthaburi; 2012. (in Thai).

Soliman ES, Mahdy RS, Fouad HA. Impact of psychoeducation program on quality of life of schizophrenic patients and their caregivers. Egypt J Psychiatr. 2018;39:35-41.

Kaisa-ard P, Dangdomyouth P. The effect of stress management program on psychotic symptoms of schizophrenic patients. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health. 2014; 28(1):43-55. (in Thai).

Boontoch K, Saito AS, Arunpongpaisal S. Social Support in Patients with Schizophrenia. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 2013;38(1):89-100. (in Thai).

Phongam R, Aungsuroch Y, Suktrakul S. The Effect of Therapeutic Relationship Combined with telephone continuing care program on medical adherence in persons with Schizophrenia. Royal Thai Navy Medical Journal. 2018;45(3):493-508. (in Thai).