การเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลพะเยา

Main Article Content

สิริวิมล ไชยมงคล
เกษร สำเภาทอง
สุภา วิตตาภรณ์

บทคัดย่อ

บทนำ : สังคมสูงวัย เป็นปรากฎการณ์ทั่วโลก สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น  ปี 2565 ประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การศึกษารูปแบบเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุจึงจำเป็นอย่างยิ่ง


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมของพยาบาลวิชาชีพ


วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงคุณภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพะเยาอายุ 45-59 ปี ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ โดยสัมภาษณ์ 72 ราย และสัมภาษณ์เชิงลึก 19 ราย ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สร้างรหัส สรุปเชื่อมโยง


ผลการวิจัย : รูปแบบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุมีความแตกต่างกันตามวัยและการใช้ชีวิต จำแนกเป็นประเด็น ดังนี้ 1) วัยก้าวย่างสู่วัยสูงอายุ 1.1) เลิกบ้าพลัง 1.2) ใส่ใจสุขภาพ 1.3) เป็นเสาหลัก 1.4) เงินคือที่พึ่ง 1.5) สัมพันธ์ในครอบครัว 1.6) ปรับปรุงบ้าน 1.7) อารมณ์สงบนิ่ง 1.8) จิตอาสา 
1.9) ปรับตัวร่วมกัน 1.10) เตรียมย้ายที่อยู่ 2) วัยพร้อมเกษียณ 2.1) ชะลอร่างกายที่เสื่อม 2.2) งานและชีวิตต้องสมดุล 2.3) ส่งต่องานให้คนรุ่นใหม่ 2.4) สร้างฐานะมั่นคง 2.5) เป็นที่พึ่งของลูกหลาน 2.6) ปรับบ้านรองรับสูงวัย 2.7) สร้างตัวตนใหม่ 2.8) พบเพื่อนเก่า 2.9) ลูกหลานคือที่พึ่ง  2.10) งานอดิเรก


สรุปผล : คนอายุต่ำกว่า 55 ปีเป็นโสดเตรียมความพร้อมตามใจตัวเอง คนมีครอบครัวมุ่งวางแผนอนาคตลูก ลดความทุ่มเทกับงาน เน้นสัมพันธภาพในครอบครัว ดูแลสุขภาพกายใจ และจิตอาสา
คนอายุ 55 ปีขึ้นไป ลดการทำงาน ส่งต่องาน สร้างฐานะมั่นคง เป็นที่พึ่งพา และสร้างตัวตนใหม่หลังเกษียณ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

National Statistical Office. Number of population from registration by age, sex and province: 2021 Bangkok: Office Statistics of demography population and housing; 2022. (in Thai).

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. The situation of the Thai elderly in 2021. Bangkok: Amarin printing and publishing; 2021. (in Thai).

Nuengchamnong K, Ananthanathorn A. National strategic for aging condition management in Thailand: social welfare arrangement for the security of the elderly. Journal of Politics, Administration and Law. 2020;12(2):219-36. (in Thai).

The Support System Reform for Ageing Society of Thailand Committee. Reform agenda No. 30: System reform for support ageing society. Bangkok: The secretariat of parliament council printing. [Internet]. 2016 [cited 2023 Feb 6]; Available from: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/454651. (in Thai).

Saengthong J. Ageing Society (Complete Aged): The elderly condition of good quality. Rusamilae Journal. 2017;38(1):6–28. (in Thai).

World Health Organization. Active aging: a policy framework. WHO IRIS. [Internet]. 2002 [cited 2023 Feb 6]; Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/67215.

Yoddumnern-Attig B, Tangchontip K. Qualitative Data Analysis:Data Arrangement, Interpretation and Meaning. Nakhonpathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University. 2009. (in Thai).

Yatniyom P, Sritanyarat W. Preparation for active aging in nurses at a tertiary care hospital. Journal of Nursing Science & Health. 2017;40(4):50-9. (in Thai).

Chongvisal R. Preparation for pre-ageing populations in the workplace: Spiritual health and psychological well-being development program. Kasetsart Journal of Social Sciences. 2021;42(4):761–9.

Kaewkool พส. The roles of good son and daughter according to corner Buddhism in Ban Dong Chai Community, Muang District, Lampang Province. Academic Journal of MBU Lanna; Campus. 2019; 8(1):82-91. (in Thai).

Phrateprattanasutee. Parental care according to Buddhism. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences. 2014;1(2):65-74. (in Thai).