การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อคุณภาพและความปลอดภัย

Main Article Content

โศภิษฐ์ สุวรรณเกษาวงษ์
ศิริมา ลีละวงศ์
กนกพร แจ่มสมบูรณ์
อรรถยา อมรพรหมภักดี
อำพันธ์ พรมีศรี

บทคัดย่อ

บทนำ : ไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ  จึงควรมีการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อให้เกิดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพ และความปลอดภัย


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์  ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ ระยะที่ 3 ประเมินสรุปผล  ตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารการพยาบาล 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 100 คน และผู้ติดเชื้อ 200 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสำรวจสถานการณ์ 2) แบบวัดความรู้พยาบาล  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ติดเชื้อ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และทดสอบค่าที


ผลการวิจัย : ผลระยะที่ 1 พบว่า ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ระยะที่ 2 รูปแบบที่พัฒนาประกอบด้วย 1) การบริหารหน่วยงาน 2) การปฏิบัติการพยาบาล  3) ผลลัพธ์การพยาบาล ระยะที่ 3 พบว่า พยาบาลมีความรู้ เพิ่มขึ้น (t= 21.26, p<.01) ความพึงพอใจของพยาบาล อยู่ในระดับมาก (M=3.94,SD=5.43) ความพึงพอใจของผู้ติดเชื้ออาการรุนแรงมาก และปานกลาง  อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.85,SD=4.73 และ M=4.41,SD=6.52) ไม่เกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อของบุคลากร  ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ Bed Soreจาก Prone position  และ VAP  ลดลง ร้อยละ 1.31 และ ร้อยละ 0.75


สรุปผล : รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนานี้สามารถนำสู่การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิดคุณภาพ และ ความปลอดภัยได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biographies

ศิริมา ลีละวงศ์, กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธารณสุข

ผู้อำนวยการกองการพยาบาล

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธารณสุข

กนกพร แจ่มสมบูรณ์, กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล

กองการพยาบาล

สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธารณสุข

อรรถยา อมรพรหมภักดี, กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการพยาบาลชำนาญการพิเศษ

กองการพยาบาล  สำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงสาธารณสุข

อำพันธ์ พรมีศรี, โรงพพยาบาลสมุทรปราการ

หัวหน้าพยาบาล

โรงพพยาบาลสมุทรปราการ

References

COVID-19 Information Center. Department of Disease Control. COVID-19 situation in Thailand. [Internet] 2021 [cited 2021 Jun 15]; Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpn eumonia/. (in Thai).

Kirdmanee B, Tumtavitikul S, Wachirasurong Y, Sukbot B, Teekasu S. Concepts and guidelines for solving COVID-19. Advanced Science Journal. 2020;20(1):1-12. (in Thai).

Secretariat of the Cabinet (Thailand). Order of the Center for Management of the Epidemic of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) No. 19/2564 “The area as the highest surveillance-control area, highest surveillance area, control area, and surveillance area according to the regulations issued under Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2005. [Internet] 2021. [cited 2022 Jul 9]; Available from: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2564/E/262/T_0013.PDF. (in Thai).

Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement of Thailand Nursing and Midwifery Council on Standard of Nursing B.E.2019. [Internet] 2019. [cited 2022 Mar 1]; Available from: https://www.tnmc.or.th/ images/userfiles/files/A111.PDF. (in Thai).

Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement of Thailand Nursing and Midwifery Council on Nursing Work Instruction for Professional Nurses and Midwifes to Control & Prevent of Virus-Corona 2019”. [Internet] 2020. [cited 2022 Mar 1]; Available from: https://www.tnmc. or.th/images/userfiles/files/Covid-Update 01042020.pdf. (in Thai).

Medical Practice Guidelines for diagnosis, care and prevention of Nasocromial infection: coronavirus disease 2019 (COVID-19), for Physicians and Public health Personnel, revised edition dated 2 November 2021. [Internet]. 2021. [cited 2022 Mar 9]; Available from: https://covid19.dms. go.th/Content/Select_Landding_page_QR?QRCodePath=/covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=155&QRContentId=155. (in Thai).

Health Care Accreditation Institute (Public Organization). Patient safety goals: SIMPLE Thailand 2018. 2nd Reprint. Nonthaburi: Famous and Successful; 2018.

Pitukpakorn L. Factors affecting The performance of nursing process among professional nurse at community hospital in Kanchanaburi Province. [Thesis]. Bangkok: Silpakorn University; 2010. (in Thai).

Sibounheuang S, Supamanee T, Thungjaroenkul P. Knowledge, attitude, and practice in nursing process among nurses, Lao People’s Democratic Republic. Nursing Journal. 2016;43 (Suppl):140-50. (in Thai).

Leungamornlert S, Lim-Amnuaylap S, Senarak W. Nursing process : Theory and implementation. 13th reprint. KhonKaen : Khon Kaen Printing. 2000. (in Thai).

Walter JB, Pardee GP, Molbo DM. Dynamics of problem-oriented approaches: Patient care and documentation Philadelphia:Lippincott; 1976.

Busarakumvadee N, Sripunyavuttisuk Y. The development of a diabetic caring model in Nakhon Nayok Hospital. Journal of Nursing and Education. 2012;5(2):114-29. (in Thai).

Nawsuwan K, Singweratham N. Damsangsawas N. Correlation of perception disease severity to implementation role for control of COVID-19 in communities among village health volunteers in Thailand. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2020;14(2): 93-102. (in Thai).