ความไวและความจำเพาะของเครื่องมือประเมินความเสี่ยง ต่อการเกิดแผลกดทับบาร์เดนคิวดีฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยเด็ก : การศึกษาความถูกต้องในการวินิจฉัย

Main Article Content

ปานจิตต์ พรหมโชติ
ชุติมา สุดประเสริฐ
สุภาพร วรรณสันทัด
ศุภศิริ อ้อยทอง
รัตนา นิยมชาติ
นิศราวรรณ ชัยศร
นันทพร พรธีระภัทร

บทคัดย่อ

บทนำ : การเกิดแผลกดทับเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลที่สำคัญ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับที่มีความตรงในการทำนายมีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ


วัตถุประสงค์การวิจัย : ศึกษาความไวและความจำเพาะของแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับบาร์เดนคิวดีฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยเด็ก และหาค่าจุดตัดที่เหมาะสม


วิธีการวิจัย : ตัวอย่าง คือ เด็กแรกเกิดถึง 15 ปี ในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก หอผู้ป่วยเด็กอายุรกรรมและศัลยกรรม จำนวน 366 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับบาร์เดน บาร์เดนคิว บาร์เดนคิวดี แบบประเมินระดับแผลกดทับ และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์  และการทดสอบพื้นที่เส้นโค้ง


ผลการวิจัย : ตัวอย่าง 366 คน เกิดแผลกดทับ 44 คน (ร้อยละ 12.00) จำนวน 53 แผล มีสาเหตุจากการไม่เคลื่อนไหว 34 แผล (ร้อยละ 64.15) และจากอุปกรณ์การแพทย์ 19 แผล (ร้อยละ 35.85) แบบประเมินบาร์เดนคิวดี มีค่า AUC .74 (95%CI: .67-.81) ที่จุดตัดที่ 12 คะแนน ได้ค่า AUC .68 (95%CI: .60-.76) ค่าความไว .82 (95%CI: .70-.93) ค่าความจำเพาะ .54 (95%CI: .48-.59) ค่าทำนายเมื่อผลเป็นบวก 0.19 (95%CI: .14-.25) ค่าทำนายเมื่อผลเป็นลบ 0.96 (95% CI: .93-.99) และมีโอกาสเกิดแผลกดทับ 1.77 เท่าเมื่อผลทดสอบเป็นบวก 1.77 (95%CI: 1.47-2.12)


สรุปผล : แบบประเมินบาร์เดนคิวดีมีความถูกต้องในการทำนายการเกิดแผลกดทับในเด็กแรกเกิด–15 ปี
ในระดับที่ยอมรับได้  

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biographies

ปานจิตต์ พรหมโชติ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการพยาบาล, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ชุติมา สุดประเสริฐ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

สุภาพร วรรณสันทัด, Boromarajonani College of Nursing Bangkok, Nursing Faculty, Proboromarajchanok Institute

อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก, กระทรวงสาธารณสุข

ศุภศิริ อ้อยทอง

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

รัตนา นิยมชาติ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

นิศราวรรณ ชัยศร, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

นันทพร พรธีระภัทร, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

References

Triantafyllou C, Chorianopoulou E, Kourkouni E, Zaoutis TE, Kourlaba G. Prevalence, incidence, length of stay and cost of healthcare-acquired pressure ulcers in pediatric populations: A systematic review and meta-analysis. Int J Nurs Stud. 2021;115:103843. doi: 10.1016/j.ijnurstu. 2020.103843.

Kulik LA, Hasbani NR, Stellar JJ, Quigley SM, Shelley SS, Wypij D, et al. Hospital-acquired pressure injuries in children with congenital heart disease: Prevalence and associated factors. Pediatr Crit Care Med. 2019;20(11):1048-56. doi: 10.1097/PCC. 0000000000002077.

Curley MA, Razmus IS, Roberts KE, Wypij D. Predicting pressure ulcer risk in pediatric patients: The Braden Q Scale. Nurs Res. 2003;52(1):22-33. doi: 10.1097/ 00006199-200301000-00004.

Bergstrom N, Braden BJ, Laguzza A, Holman V. The Braden scale for predicting pressure sore risk. Nurs Res. 1987;36(4):205-10. doi. 10.1097/00006199-198707000-00002.

Chun X, Lin Y, Ma J, He J, Ye L, Yang H. Predictive efficacy of the Braden Q Scale for pediatric pressure ulcer risk assessment in the PICU: a meta-analysis. Pediatr Res. 2019;86(4):436-43. doi: 10. 1038/s41390-019-0465-x.

Murray JS, Noonan C, Quigley S, Curley MA. Medical device-related hospital-acquired pressure ulcers in children: an integrative review. J Pediatr Nurs. 2013;28(6):585-95. doi: 10.1016/j.pedn.2013.05.004.

Stellar JJ, Hasbani NR, Kulik LA, Shelley SS, Quigley S, Wypij D, et al. Medical device-related pressure injuries in infants and children. J Wound Ostomy Continence Nurs. 2020;47(5):459-69. doi: 10.1097/WON. 0000000000000683.

Kayser SA, VanGilder CA, Ayello EA, Lachenbruch C. Prevalence and analysis of medical device-related pressure injuries: results from the international pressure ulcer prevalence survey. Adv Skin Wound Care. 2018;31(6):276-85. doi: 10. 1097/01.ASW.0000532475.11971.aa.

Curley MAQ, Hasbani NR, Quigley SM, Stellar JJ, Pasek TA, Shelley SS, et al. Predicting pressure injury risk in pediatric patients: The Braden QD Scale. J Pediatr. 2018;192:189-95.e2. doi: 10.10 16/j.jpeds.2017.09.045.

Punyoo J, Phaopant S, Katchamat N. Translation and validation of the Braden QD Scale (Thai version) for predicting pediatric pressure injury risk in pediatric critically iII patients. Ramathibodi Nursing Journal. 2022;28(1):16-29. (in Thai).

Queen Sirikit National Institute of Child Health. Report on the incidence rate of pressure ulcers for fiscal year 2016-2018, Queen Sirikit National Institute of Child Health; 2018. (in Thai).

Buderer NM. Statistical methodology: I. Incorporating the prevalence of disease into the sample size calculation for sensitivity and specificity. Acad Emerg Med. 1996;3(9):895-900. doi: 10.1111/j. 1553-2712.1996.tb03538.x.

Arifin WN. Sample size calculator. [internet]. 2021 [cited 2021, Apr 8]; Available from: https://wnarifin.Github.io/ ssc/sssnsp.html.

Wongviseskarn J. The Braden Scale for Predicting Pressure Sore Risk (Thai version). Translation from Bergstrom N, Braden B, Laguzza A, Holman V. Decubitis. (1988);1(2):18-9. [Internet]. 2022 [cited 2022, Apr 10]; Available from: https://nurse.pmk.ac.th/images/APN/ braden_scale.pdf. (in Thai).

Wongviseskarn J. The Modified Braden Q Scale (Thai version). Translation from Curley MAQ, Razmus IS, Roberts, KE, Wypij D. Predicting pressure ulcer risk in pediatric patients: The Braden Q Scale. Nurs Res. 2003;52(1):22-33. [Internet]. 2022 [cited 2022, Apr10] Available from: https://nurse.pmk.ac.th/images/APN/ Braden-Q-Scale.pdf. (in Thai).

Edsberg LE, Black JM, Goldberg M, McNichol L, Moore L, Sieggreen M. Revised National Pressure Ulcer Advisory Panel Pressure Injury Staging System: Revised Pressure Injury Staging System. J Wound Ostomy Continence Nurs. 2016;43(6):585-97. doi: 10.1097/ WON.0000000000000281.

Puspitasari JD, Nurhaeni N, Waluyanti FT. Testing of Braden QD Scale for predicting pressure ulcer risk in the Pediatric Intensive Care Unit. Pediatr Rep. 2020;12(Suppl 1): 8694. doi: 10.4 081/pr.2020.8694.