ประสบการณ์ชีวิตของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี และ ความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพของบุตรที่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : เด็กแรกเกิดถึงสามขวบปีแรกต้องการการดูแลที่ใกล้ชิดมากกว่าเด็กวัยอื่น เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องปรับตัวและเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของบิดามารดาในการดูแลบุตรวัยเด็กเล็กให้มีความปลอดภัย สุขภาวะที่ดี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของบิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี และความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพของบุตรที่บ้าน
วิธีการวิจัย : วิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาตามแนวคิดของฮัซเซิร์ล ในมารดาที่มีประสบการณ์เลี้ยงดูบุตรวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี จำนวน 23 คน ในเขตเมืองนนทบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของโคไลซี
ผลการวิจัย : ประสบการณ์ชีวิตของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี มีดังนี้ 1) เป็นผู้ให้ความรักและดูแลเอาใจใส่ 2) เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ในการดูแลบุตร 3) เป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ และ 4) เป็นผู้บริหารจัดการชีวิตที่ท้าทาย ส่วนความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพของบุตรที่บ้าน มีดังนี้ 1) การสนับสนุนเมื่อบุตรเจ็บป่วย 2) การสนับสนุนด้านการเงิน 3) การสนับสนุนด้านจิตใจ และ 4) การสนับสนุนในการเลี้ยงดูแลบุตร
สรุปผล : ผลการวิจัยแสดงถึงประสบการณ์ของมารดาในการดูแลบุตรวัยเด็กเล็กและความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพของบุตรที่บ้าน ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ทีมสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสนับสนุนการดูแลสุขภาพเด็กเล็กของบิดามารดาได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Fongkerd S, Phukritsana S, Tontalanukul S. Nursing role with family health promotion based on family development theory. HCU Journal. 2016;20(39):133-42. (in Thai).
Gazmararian J, Dalmida S, Merino Y, Blake S, Thompson W, Gaydos L. What new mothers need to know: Perspectives from women and providers in Georgia. Matern Child Health J. 2014;18(4):839–51. doi: 10.1007/s10995-013-1308-8.
Kurth E, Krähenbühl K, Eicher M, Rodmann S, Fölmli L, Conzelmann C, et al. Safe start at home: what parents of newborns need after early discharge from hospital - a focus group study. BMC Health Services Research. 2016;16:1-14. doi: 10.1186/s12913-016-1300-2.
Jaques ML, Weaver TL, Weaver NL, Willoughby L. The association between pediatric injury risks and parenting behaviours. Child Care Health Dev. 2018;44(2):297-303. doi: 10.1111/cch.12528.
Adama EA, Adua E, Bayes S, Mörelius E. Support needs of parents in neonatal intensive care unit: An integrative review. Clin Nurs. 2022;31(5-6):532-47. doi: 10.11 11/jocn.15972.
Thomson G, Balaam MC. International insights into peer support in a neonatal context: A mixed-methods study. PLoS ONE. 2022;14(7):1-24. doi: 10.1371/journal. pone.0219743.
Hattakitpanichakul K, Phahuwatanakorn W, Serisathien Y, et al. Teaching programme involving husbands’ participation: Its impact on teenage mothers’ post-childbirth maternity adjustment. Thai Journal of Nursing Council. 2012;27(4):84-95. (in Thai).
Stormshak EA, DeGarmo D, Garbacz SA, McIntyre LL, Caruthers A. Using motivational interviewing to improve parenting skills
and prevent problem behavior during the transition to kindergarten. Prev Sci. 2021;22(6):747-57. doi: 10.100 7/s11121-020-01102-w.
Department of Health: Ministry of Public Health. The 6th study of factors effecting to child development in Thailand in 2017. [Internet]. 2017 [cited 2022 Jul 31]; Available from: http://203.157.71.115/ knowledge/mapping/paper/view?id=94. (in Thai).
Wadvaree S. Problems of child rearing and community welfare management: Case studies of four communities in Wangthonglang District, Bangkok. Romphruek Journal. 2017;35(2):99-118. (in Thai).
Christensen M, Welch A, Barr J. Husserlian descriptive phenomenology: A review of intentionality, reduction and the natural attitude. J Nurs Educ Pract. 2017;7(8):113-8. doi: 10.5430/jnep.v7n8p113.
Anney VN. Ensuring the quality of the findings of qualitative research: Looking at trustworthiness criteria. j. emerg. trends educ. res. policy stud. 2014;5(2):272-81.
Shosha GA. Employment of Colaizzi’s strategy in descriptive phenomenology: A reflection of a researcher. Eur Sci J. 2012;8(27):31-43. doi: 10.19044/esj.2012. v8n27p%25p.
Amici F, Röder S, Kiess W. et al. Maternal stress, child behavior and the promotive role of older siblings. BMC Public Health. 2022;22(863):13261-2. doi: 10.1186/s12889-022-13261-2.