การพัฒนานวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : การพัฒนานวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติเพื่อใช้ในการเรียนการสอนด้านการพยาบาลมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติเย็บแผลในห้องฉุกเฉินได้มีอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อพัฒนานวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติ และประเมินความพึงพอใจนวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติที่พัฒนาขึ้นใหม่
วิธีการวิจัย : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) สร้างและพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผล 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ ตัวอย่างคือ อาจารย์พยาบาลที่สอนวิชารักษาโรคเบื้องต้น ในสถาบันที่มีคณะพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในเครือข่ายภาคกลาง และนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินคุณภาพบาดแผลจำลองจากยางธรรมชาติ และแบบประเมินความ
พึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณา
ผลการวิจัย : ได้นวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติ ที่มีชิ้นบาดแผลเจาะติดหุ่นไว้ในส่วนต่างๆ ของร่างกายหุ่น เมื่อนำมาทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจได้ค่าเฉลี่ยคะแนนความ
พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.43,SD=0.61)
สรุปผล : อาจารย์พยาบาล และนักศึกษาพยาบาลพึงพอใจนวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะเย็บแผลจากยางธรรมชาติ ใช้ฝึกทักษะการเย็บแผลแต่ละชนิด ลักษณะของผิวหนังและ ลักษณะบาดแผล สีของแผลของนวัตกรรมหุ่นจำลองที่เสมือนผู้บาดเจ็บจริงทำให้นักศึกษาสามารถฝึกเย็บแผลได้เสมือนทำกับผู้บาดเจ็บจริงมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Yimyam S. Developing stimulation model for training clinical skill of health science students. Nursing Journal. 2016;43(2):142-51. (in Thai).
Poko S, Dussaruk D, Kunoy C. Development of simulated wounds to practice wound dressing skills of nursing students. Journal of Health Research and Innovation. 2019;2(1):267-79. (in Thai).
Eiamla-or P, Takan S, Ratanapariyanuch S. Development of the suturing wound model for nursing students. Journal of Health and Nursing Research. 2021;37(3):304-18. (in Thai).
Henkaew W, Tongswas T, Yodkhad P. Development of “DeeTorJai” model for chest compression training among nursing students. Nursing Journal. 2018;45(4):170-80. (in Thai).
Aroonsaeng P. Adult and elderly health assessment for nurses. Khon Kaen: Khungnanavittaya; 2018. (in Thai).
Siratirakul L, Panasan D, Sanongyard J. The effects of using suction model on the asilty to suction procedure in nursing students of Boromarajonani College of nursing Suphanburi. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 2020;5(6):374-88. (in Thai).
Borg WR, Gall MD. Education research: An introduction 5thed, New Yok: Longman, Inc. 1989.
Malterud K, Siersma VD, Guassora AD. Sample size in qualitative interview studies: guided by information power. Qual Health Res. 2016;26(13):1753-60. doi: 10.1177/1049732315617444.
Yimyam S, Karnasuta S. Developing a FON CMU breast model as a teaching aid for breastfeeding. Nursing Journal. 2013; 40(4):56-67. (in Thai).
Boonmatum K. Innovation in organizing for learning based on sufficiency economy philosophy, using the professional learning community. Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University. 2021;27(2):35-49. (in Thai).
Lincharearn A. Qualitative data analysis techniqes. Journal of Educational Measurement Manasarakham University. 2018;17(1):17-29. (in Thai).
Sanitlou N, Sartphet W, Naphaarrak Y. Sample size calculation using G*Power program. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Soical Sciences). 2019;5(1):496-507. (in Thai).