ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อทักษะด้านการบริหารจัดการ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะด้านการสื่อสารสุขภาพ

Main Article Content

วรางคณา ชมภูพาน
วรวุฒิ ชมภูพาน
ฐากรู เกชิต
เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ
จรียา ยมศรีเคน
คนธ์พงษ์ คนรู้ชินพงศ์
พิทยา ศรีเมือง
ศันสนีย์ จันทสุข

บทคัดย่อ

บทนำ : สมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่สำคัญคือการบริหารจัดการสุขภาพประชาชน ร่วมกับการสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อทักษะด้านการบริหารจัดการ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะด้านการสื่อสารสุขภาพ


วิธีการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่าง คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่นแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามทักษะด้านการบริหารจัดการ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะด้านการสื่อสารสุขภาพ โดยหาค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .83 .74 และ .78 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที


ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีทักษะด้านการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 33.00 คะแนน (95%CI = 30.29 ถึง 35.71) อีกทั้งยังพบว่าด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มมากขึ้น 14.64 คะแนน (95%CI = 11.76 ถึง 17.53) เช่นเดียวกันกับด้านการสื่อสารสุขภาพที่เพิ่มขึ้น 13.72 คะแนน (95%CI = 12.08 ถึง 15.35) แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)


สรุปผล : โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่งผลให้สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพิ่มสูงขึ้น


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ministry of Public Health. Action plan 2021. [Internet]. 2021 [cited 2021 Aug 25]; Available from: https://bps.moph.go.th/ new_bps/sites/default/files/plan_ops64.pdf. (in Thai).

Berger BA, Villaume WA. A new conceptualization and approach to learning and teaching motivational interviewing. Inov Pharm. 2016;7(1).1-11. doi: 10. 24926/iip.v7i1.413.

Rogers CR. On becoming a person: A therapist's view of psychotherapy: Houghton Mifflin Harcourt; 1995.

Gordon J, Deland E, Kelly RE. Let’s talk about improving communication in healthcare. Col Med Rev. 2015;1(1):23-7. doi: 10.7916/D8959GTH.

Vermeir P, Vandijck D, Degroote S, Peleman R, Verhaeghe R, Mortier E. et al. Communication in healthcare: a narrative review of the literature and practical recommendations. Int J Clin Pract. 2015; 69(11):1257-67. doi: 10.1111/ijcp.12686.

Kukkong P, Iamnirun T, Thongprayoon C, Boonsiripan M. Health communication competency of village health volunteers in KhonKaen Province. The Golden Teak: Humannity and Social Science Journal. 2015;21(2):187-97. (in Thai).

Keyong E. The performance of village health volunteers in the midst of change. Journal of Health Systems Research 2017;11(1):118-26. (in Thai).

Ennis RH. A logical basis for measuring critical thinking skills. Educational Leadership.1985;43(2):44-8.

Primary health care division. Department of health service support. Village health volunteers community health management. [Internet]. 2013 [cited 2021 Aug 25]; Available from: http://www.nongkwang.go.th/site/ attachments/article/98/11.pdf. (in Thai).

Yortkham A, Laothamatas A, Yenyuak C. Empowerment of active citizenship and public policy partnership of village health volunteers for sustainable health self-care. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences. 2020;3(3):403-18. (in Thai).

Roengtam S. People public policy. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2017. (in Thai).

Kaveh MH, Rokhbin M, Mani A, Maghsoudi, A. The role of health volunteers in training women regarding coping strategies using self-efficacy theory: barriers and challenges faced by health volunteers in empowerment of women. Asian Pac J Cancer Prev. 2017;

(9):2419-24. doi: 10.22034/APJCP.2017. 18.9.2419.

Tachavijitjaru C. Health literacy: A key Indicator towards good health behavior and health outcomes. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2018;19(suppl):1-11. (in Thai).

Sirasoonthorn P, Buddharaksa W, AnusakvSathian K. Coaching and semiotic communication for lifestyle behavioral changes of diabetes and hypertension risk groups. Journal of Liberal Arts, Thammasat University. 2020;20(2): 82-103. (in Thai).

Rattanavarang W. Health communication: concepts and application. Bangkok :Thammasat Printing House. 2016. (in Thai).

Kleechaya P. People’s accessibility of health information in international spreading of emerging infection disease and their self-care. Journal of Communication Arts Review. 2019;23(1):29-44. (in Thai).