ผลของการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ ในการวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการปวดท้องในระบบทางเดินอาหาร

Main Article Content

โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล
คณิสร เจริญกิจ
วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์

บทคัดย่อ

บทนำ : แอปพลิเคชันบนมือถือเป็นซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่ใช้งานได้ง่ายและพกพาไปได้ทุกที่ ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ทุกเวลา จึงเริ่มมีการนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน และพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือในการเรียนรู้


วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนการสอนการวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการปวดท้องในระบบทางเดินอาหารของนักศึกษาพยาบาลระหว่าง 1) ก่อนกับหลังการเรียนการสอนแบบใช้แอปพลิเคชันบนมือถือและแบบปกติ และ 2) การเรียนการสอนแบบใช้แอปพลิเคชันบนมือถือกับแบบปกติ


วิธีการวิจัย : วิจัยเชิงทดลอง แบบวัดก่อนและหลังการทดลอง ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อการวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการปวดท้องในระบบทางเดินอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบการวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการปวดท้องในระบบทางเดินอาหาร และแบบบันทึกเวลาที่ใช้และความถูกต้องในการวินิจฉัยแยกโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบวิลค๊อกซันและแมน-วิทนีย์ยู


ผลการวิจัย : ผลการเรียนการสอนแบบใช้แอปพลิเคชันบนมือถือกับแบบปกติต่อความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการปวดท้องในระบบทางเดินอาหารของนักศึกษาพยาบาลไม่แตกต่างกัน


สรุปผล : แอปพลิเคชันบนมือถือสามารถใช้เป็นสื่อทางเลือกของการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการปวดท้องในระบบทางเดินอาหารของนักศึกษาพยาบาล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Nursing Council. Preliminary treatment and immunization requirements for first-class nursing and midwifery practitioners. 5th edition. Bangkok: Siri Yot Printing; 2011. (in Thai).

Song Pee Nong Hospital. Service profile, out-patient department. Chanthaburi: Song Pee Nong Hospital; 2019. (in Thai).

Tha Mai Hospital. Service profile, out-patient department. Chanthaburi: Tha Mai Hospital; 2019. (in Thai).

Siriphuvanun V, Juntarawijit Y, Udomvong N. Primary medical care of nurses at primary care unit in Chiang Mai Province. Thai Journal of Nursing Council. 2008;23(1):74-86. (in Thai).

Fongkerd S, Himananto S, Tantalanukul S. Relationships between selected factors to nurse practitioner’s role in primary medical care performance trained at Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri. HCU Journal of Health Science. 2017;21(41):65-78. (in Thai).

Sanchan M, Chumnanborirak P, Khawnphon S. Conditions of nursing practice of the primary medical care practicum: case study in community hospitals. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. 2014;20(2):70-81. (in Thai).

Thongmeekhaun T, Sateuw S, Chuakompeng A. Perception of students and preceptors towards clinical skills regarding basic medical treatment among nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2017;27(4):131-43. (in Thai).

Islam R, Islam R, Mazumder T. Mobile application and its global impact. Int J Eng Technol. 2010;10(6):72-8. doi: 10.1.1.29 5.7161&rep=rep1&type=pdf.

Ventola CL. Mobile devices and apps for health care professionals: uses and benefits. P T. 2014;39(5):356-64.

Leaungsomnapa Y, Samroumram P, Pimtara P, Micor T, Prasong D, Klangjai T, et al. The effectiveness of using mobile application improving the perception of dopamine drug administration skill among nursing students. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center. 2020;37(2):134-43. (in Thai).

Kim H, Suh EE. The effects of an interactive nursing skills mobile application on nursing students' knowledge, self-efficacy, and skills performance: a randomized controlled trial. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci). 2018;12(1):17-25. doi: 10.1016/j.anr.2018.01.001.

Tongsee K, Aintasri T, Tangthammarak S. Physicial application for android. [Internet]. 2014 [cited 2020 Jul 3]; Available from: http://www.repository.rmu tt.ac.th/xmlui/bitstream/123456789/1892/1/1.front.pdf

McMillan JH, Schumacher S. Research in education: evidence-based inquiry. 7th edition. Boston: Pearson Education; 2010.

Sun CE. What is the best time intervals between pre-test and post-test? [Internet]. 2017 [cited 2020 Jun 1]; Available from: https://www.researchgate.net/post/What_is_ the_best_time_intervals_between_pre-test_ and_post-test.

Kim JH, Park H. Effects of smartphone-based mobile learning in nursing education: a systematic review and meta-analysis. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci). 2019;13(1):20-9. doi:10.1016/j.anr.2019.0 1.005.