ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังของพระภิกษุสงฆ์ ในการใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่การใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ไม่เหมาะสมในกลุ่มพระภิกษุสงฆ์
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังในการใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติและความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ตัวอย่างคือ พระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จำนวน 292 ราย โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน โดยแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .81 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย : พบว่า พระภิกษุสงฆ์เป็นพระลูกวัด ร้อยละ 86.60 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 79.50 เมื่อมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินภายในวัดส่วนใหญ่ไปโรงพยาบาล/คลินิก ร้อยละ 76.70 และใช้
รถของวัด ร้อยละ 37.60 ส่วนการรับรู้การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.25, SD = 0.23) ทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.17, SD = 0.24) และความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก (M = 2.64, SD = 0.34) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
สรุปผล : ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ควรมีการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรู้ความสามารถและพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพในภาวะฉุกเฉินของพระภิกษุสงฆ์ให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Sakudomchai P, Angkanapiwat W, Tangchakwaranont W, Suksumek K, Peechanon S, Limjindaporn C. Emergency department nurse workforce allocation: A case study of the Emergency Department, Thammasat University Hospital. Thai Journal of Operations Research 2015;1:1-12. (in Thai).
Sukphaibun U, Apinandacha C, Charoencheewakul C. The satisfaction of clients toward emergency medical service system of Rangsit City Municipal, Pathumthani Province.Journal of Nakhonratchasima College. 2016;4(1):417-25. (in Thai).
Office of policy and strategy. Care Report Summary 2014 [Internet]. 2015 [cited 2019 Jul 16]; Available from http://bps.moph.go. th/new_bps/sites/default/files/ill2557full.pdf.
National Institute for Emergency Medicine. National Institute for Emergency Medicine; 2019. Academic conference and present the results of disaster prevention and mitigation operation, Chiang Mai Province 2019 [Internet].2019[cited 2019 Aug 20]. Available from https://www.niems.go.th/1/News/Det ail/7610?group=15.
Ponsen K, Wachiradilok P, Sirisamutr T, Khomnuanroek N. The situation and the factors that affect the use of emergency medical services at the emergency department of patient emergency in Thailand. Research report; 2016. (in Thai).
Thai Health Promotion Foundation. Happy News Agency Movement procession to create monk's health [Internet]. 2019 [cited 2019 Jul 20]; Available from https://www. thaihealth.or.th/categories/2/1/131
Pinyo S, Yamrot, T, Kerdkaew K, Si Sakhon K. Perception and Expectation of Emergency Medical Services by patients and relatives emergency and accident patient Phrachomklao Hospital, Phetchaburi Province. Research report; 2011. (in Thai).
Surachit C. Perception and expectation of Emergency Medical Service in Paknamlangsuan Hospital, Chumphon Province.Region 11 Medical Journal 2017;31(2):271-8. (in Thai).
Phianpailoon P. Knowledge, attitude, and expectations of people toward emergency medical services in areas covered by Samkok Community Hospital [Degree of Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner]. Pathum Thani Province: Thammasat University; 2011. (in Thai).
Saranrittichai K, et al. Community perception on emergency medical service of Khon Kaen Regional Hospital. Research report; 2003. (in Thai).
Meephosom U. Comparison of knowledge and attitude of health personnel towards Emergency Medical Service in Phra Nakhon Si Ayutthaya by Different of Personal Factors [Degree of Master of Public Health Program]. Nonthaburi Province: Sukhothai Thammathirat Open University; 2006. (in Thai).
Khuntongkaew S. the study of Factors related to use emergency medical services, Ratchaburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province. 2019;1:30-44. (in Thai).
Khansakorn N, Silawan T, Rassanee T, Kittipichai W, Laothong U. The study on emergency medical service for the elderly, Bangkok. Research report; 2016. (in Thai).
Sirisamutr T, Ponsen K, Wachiradilok O. Knowledge, perspective, and reasons of not-calling emergency medical services in Thailand. Journal of Health Systems Research. 2018;12(4):668-80. (in Thai).