ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพและอาจทำให้โรคที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ของผู้สูงอายุ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ จำนวน 105 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยและคณะพัฒนาขึ้น ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย : ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 84.80 อายุ 60 - 69 ปี ร้อยละ 67.63 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 56.82 ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 37.11 มีคะแนนเฉลี่ย 6.50 ± 1.90 คะแนน (3 – 10 คะแนน) ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวบุหรี่ อยู่ในขั้นปฏิสัมพันธ์ ร้อยละ 45.70 และพบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ของผู้สูงอายุ (p<.05)
สรุปผล : ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่ ผลกระทบต่อสุขภาพ และให้การช่วยเหลือตามระดับความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่ให้สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างสำเร็จ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
World Health Organization. Aging and life course. [Internet]. 2018 [cited 2019 Aug 15]; Available from: https://www.who.int/ ageing/en/.
Prompak C. Aging society in Thailand. [internet]. [cited 2019 Jul 10]; Available from: http://library.senate.go.th/document/ Ext6078/6078440_0002. (in Thai).
National Statistical Office. Aging Society [Internet]. 2017 [cited 2019 Aug 15]; Available from: http://service.nsogo.th/nso/nso publish/ service/agingsociety2. (in Thai).
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Aging in Thailand. [internet]. 2017 [cited 2019 Aug 15]; Available from: https://thaitgri.org/?cat=7. (in Thai).
Sasat S. Gerontological Nursing: Common Problems and Caring Guideline. 3rd edition. Bangkok: Active print Co., Ltd; 2011. (in Thai).
Muangpaisan W. Risk of Dementia in older person. [internet]. 2018 [cited 2019 Jul 9]; Available from: https://www.si. mahidol.ac.th/project/geriatrics/network_title1_4.html. (in Thai).
Aekplakorn W. National Health Examination Survey 5. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2014. (in Thai).
Vateesatokkit P. Tobacco and Health. Nonthaburi: Teerakan Graphic; 2016. (in Thai).
Department of Older Person. Aging situation. [internet]. 2019 [cited 2019 Jul 20]; Available from: http://www.dop.go.th/th/ know/1. (in Thai).
Kaeodumkoeng K. Health Literacy: access, understand and application. Bangkok: Amarin printing and publishing public company; 2018. (in Thai).
Health Education Division. Health Literacy. Bangkok: New Thammada Press; 2018. (in Thai).
Ruamsook T, Tipwong A, Karuhadej P. Associations between health literacy and smoking cessation assistance behavior among Village Health Volunteers, Amphawa District, Samut Songkhram Province. Journal of Public Health Nursing. 2019;33:37-50. (in Thai).
Ruamsook T, Kalampakorn S, Rawiworrakul T.The effect of smoking cessation program by applying the Protection Motivation Theory in patients with hypertension. Thai Journal of Nursing. 2018;67(1):1-10. (in Thai).
Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice tenth edition. Philadelphia: Wolters Kluwer health/Lippincott Williams & Wilkin; 2017.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;67(12): 2072-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2008.09.050.
Nilnate W. Health Literacy in Thailand, Elders in senior citizens club of Bangkok [Dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2014. (in Thai).