ผลของโปรแกรมการควบคุมเหาแบบมีส่วนร่วมโดย อสม.น้อย ต่อความรู้ ในการควบคุมเหาและอาการของการเป็นเหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

จีราภา ศรีท่าไฮ
บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์
คณิสร เจริญกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมเหาแบบมีส่วนร่วมโดย อสม.น้อย ต่อความรู้ในการควบคุมเหาและอาการของการเป็นเหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเพศหญิงที่เป็นเหาและกำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 จำนวน 18 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการควบคุมเหาแบบมีส่วนร่วมโดย อสม.น้อย และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ในการควบคุมเหา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .71 และแบบประเมินอาการของการเป็นเหา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Wilcoxon signed-rank test


ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังเข้าร่วมโปรแกรมการควบคุมเหาฯ นักเรียนที่เป็นเหามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการควบคุมเหามากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการควบคุมเหาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.77, p < .001)  และ 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรมการควบคุมเหาฯ นักเรียนที่เป็นเหามีคะแนนเฉลี่ยอาการของการเป็นเหาไม่แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการควบคุมเหาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพและครูในโรงเรียนควรนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการดูแลเด็กที่มีปัญหาเรื่องเหา อีกทั้งอาจารย์พยาบาลควรนำข้อมูลไปเป็นแนวทางการสอนงานอนามัยโรงเรียนแก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลเด็กที่เป็นเหา


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.Domnin P, Sarayuthpitak J. Effects of health education program on head lice prevention for elementary school students. Online Journal of Education. 2009;5(2):58-72. (in Thai).

2. Thanyavanich N, Maneekan P, Yimsamram S, Maneeboonyang W, Puangsa-art S, Wuthisen P, et al. Epidemiology and risk factors of pediculosis capitis in 5 primary schools near the Thai-Myanmar border in Ratchaburi Province, Thailand. The Journal of Tropical Medicine and Parasitology. 2009;32(2):65-74. (in Thai).

3. Vitta A, Nateeworanart S. Human lice and forensic entomology. Forensic Medicine Journal. 2012;4(2):151-64. (in Thai).

4. Rhongbutsri P, Saichua P, Navaphongpaveen K, Taylor A. Prevalence of pediculosis capitis in handicapped girls at handicapped school in Khon Kaen Province. Thai Science and Technology Journal. 2014;21(1):34-40. (in Thai).

5. Jariyajirawattana S, Viboolsak R, Kangkan W, Songputt C, Siriphol C, Suksangpunya L. A survey of the health status of school-aged children in eastern Thailand. Chonburi: Health Center 3; 2013. (in Thai).

6. Tha Chang Health Promotion Hospital, Chantaburi Province. Summary of student health check for the academic year 2016. Chantaburi: Tha Chang Health Promotion Hospital; 2016. (in Thai).

7. Siripaiboon P. Role development of public health volunteers in primary health care: A case study of Phayathai District. Academic Services Journal, Prince of Songkla University. 2011;21(2):30-44. (in Thai).

8. Khetjoi S. The roles of public health village volunteers performing their work for Nonthon Sub-District Public Health Promotion Hospital, Muang Khon Kaen District, Khon Kaen Province. Phimoldhamma Research Institute Journal. 2017;4(1):163-74. (in Thai).

9.Ruankham W, Sanguankitrungnapa N, Koychusakul P. Good practices in the prevention and control of head lice infestations in Nanglaenai School, Chiang Rai Province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 2016;9(1) :173-85. (in Thai).

10.Fitz-Gibbon CT, Morris LL. How to design a program evaluation. Newbury Park: Sage Publications; 1987.

11. Ekkakul T. Research methodology in behavioral sciences and social sciences. 4th ed. Ubon Ratchathani: Off Set Printing House; 2006. (in Thai).

12.Bloom BS. Human characteristic and school learning. New York: McGraw-Hill; 1976.