ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมต่อผลกระทบสุขภาพ ของผู้บริโภคผักผลไม้สด
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษาที่ผ่านมา มุ่งเน้นปัญหาสุขภาพที่กลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพของผู้บริโภคที่แน่ชัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ที่ส่งผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัม และเปรียบเทียบความแตกต่างของพารามิเตอร์ทางสุขภาพตามระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่เปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ตอบแบบประเมินระดับพฤติกรรม จำนวน 81 ราย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่ตอบแบบประเมินระดับพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการได้รับพิษจากยาฆ่าแมลง ตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้นและตรวจเลือดวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคและพารามิเตอร์ทางสุขภาพระหว่างกลุ่มที่มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมมากกว่าและน้อยกว่า 2,000 U/L วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ unpaired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ p < .05
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความดันโลหิตตัวบน ปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดง และโคเลสเตอรอลโดยรวมสูงขึ้นในกลุ่มที่มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมน้อยกว่า 2,000 U/L แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .003, .049 และ .034 ตามลำดับ)
ดังนั้นการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัม พฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ และสุขภาพของผู้บริโภค อาจเป็นประโยชน์ในการทำนายและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักผลไม้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2. Beshwari MM, Bener A, Amer A, Mehdi AM, Onda HZ, Pasha MAH. Pesticide-related health problems and diseases among farmers in the United Arab Emirates. Int J Environ Health Res. 1999;9(3):213-21.
3. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control Ministry of Public Health. Annual Epidemiological Surveillance Report [Internet]. 2009 [cited 2018 Nov 20]; Available from: http://www.boe. moph. go.th/ Annual/ Annual%202552/Main.html.
4. Milhorat AT. The choline-esterase activity of the blood serum in disease. J Clin Invest. 1938;17(5):649-57.
5. del Prado-Lu JL. Pesticide exposure, risk factors and health problems among cut flower farmers: A cross sectional study. J Occup Med Toxicol. 2007;2:9.
6. den Blaauwen DH, Poppe WA, Tritschler W. Cholinesterase (EC 3.1.1.8) with butyrylthiocholine-iodide as substrate: References depending on age and sex with special reference to hormonal effects and pregnancy. J Clin Chem Clin Biochem. 1983;21(6):381-6.
7. Joshaghani HR, Ahmadi AR, Mansourian, AR. Effects of occupational exposure in pesticide plant on workers' serum and erythrocyte cholinesterase activity. Int J Occup Med Environ Health. 2007;20(4):381-5.
8. Jintana S, Sming K, Krongtong Y. Thanyachai S. Cholinesterase activity, pesticide exposure and health impact in a population exposed to organophosphates. Int Arch Occup Environ Health. 2009;82(7):833-42.
9. Silipunyo T, Hongsibsong S, Phalaraksh C, Laoyang S, Kerdnoi T, Patarasiriwong V, et al. Determination of organophosphate pesticides residues in fruits, vegetables and health risk assessment among consumers in Chiang Mai Province, Northern Thailand. Research Journal of Environmental Toxicology. 2017;11(1):20-7.
10. Nelson RH. Hyperlipidemia as a risk factor for cardiovascular disease. Prim Care. 2013;40(1):195-211.
11. Patton K. Hypertension/hyperlipidemia/ hyperhomocysteinemia and nutrition approaches. In: Corrigan M, Escuro A, Kirby D, editors. Handbook of clinical nutrition and stroke. Nutrition and health. Totowa, NJ: Humana Press; 2013. p.81-94.
12. Aminov Z, Haase RF, Pavuk M, Carpenter DO. Analysis of the effects of exposure to polychlorinated biphenyls and chlorinated pesticides on serum lipid levels in residents of Anniston, Alabama. Environ Health. 2013;12:108.
13. Joshaghani HR, Mansourian AR, Kalavi K, Salimi S. Haematologic indices in
pesticide factory workers. Journal of Biological Sciences. 2007;7(3):566-9.
14. Meyer-Baron M, Knapp G, Schäper M, van Thriel C. Meta-analysis on occupational exposure to pesticides--neurobehavioral impact and dose-response relationships. Environ Res. 2015;136:234-45.