การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ

Main Article Content

สฤษดิ์เดช เจริญไชย
สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย
จารุณี จันทร์เพชร
โกเมนทร์ ทิวทอง
มาสริน ศุกลปักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรของผู้เข้าร่วมโครงการกับผลการประเมินโครงการ  กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมคลินิกหมอครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิ จาก 12 เขตสุขภาพ จำนวน 124 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .88  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไค-สแควร์


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยรวมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 4.02, SD = 0.42) ผลการประเมินบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตอยู่ในระดับดี (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 3.99, SD = 0.52,  gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 3.98, SD = 0.43, gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x} = 4.11, SD =0 .48,  gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}  = 4.00, SD = 0.48 ตามลำดับ) และ 2) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา หน่วยงาน ตำแหน่งในหน่วยงาน ประสบการณ์การทำงาน และรุ่นที่อบรมของผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิไม่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิมีความเหมาะสม ควรที่จะดำเนินการต่อไปให้ครอบคลุมทุกทีมคลินิกหมอครอบครัว


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1 Charoenchai S, Ritruechai S, Chanphet J. Presentation documents in the follow-up meeting of primary care system development and primary care cluster 17th April 2018 Conference room, Bureau of Primary Health Care Support, Building 5, 8th Floor, Office of the Permanent Secretary. 2018. (in Thai).

2 Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass. 2007.

3 Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607-10.

4 Office of the Permanent Secretary. Primary Health System Act B.E. 2019. Bangkok: Sililuck Company Limited. 2019. (in Thai).

5 Bureau of Primary Health Care Support. Transformation Leadership Development Program in Primary Health System. Nonthaburi: Bureau of Primary Health Care Support, Office of the Permanent Secretary. 2019. (in Thai).