ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไต ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 2

Main Article Content

วันวิสาข์ สนใจ
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
นิสากร กรุงไกรเพชร

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 2 สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 1 ได้ หากมีการจัดการตนเองเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และหรือโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 2 จำนวน 60 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด  สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีจับคู่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และหรือโรคเบาหวาน ดำเนินการทดลองโดยกลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการจัดการตนเอง 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ และแบบบันทึกผลการตรวจเลือดค่าซีรั่มครีเอตินิน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติ การแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและค่าซีรั่มครีเอตินิน ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ Independent t-test


 ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงค่าซีรั่มครีเอตินินมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรประยุกต์แนวคิดการจัดการตนเองในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยให้มีการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Patient care guidelines for patients withchronic diseases. Bangkok: O-WitThailand; 2013. (in Thai).

2. Nephrology Society of Thailand. Guidelines for kidney diseases. Bangkok: BNS Advance; 2016. (in Thai).

3. Mahalee S, Raksilp M. Akakul T. Effectiveness of health education program in self-care of Chronic Kidney Disease (CKD) among chronic kidney disease patients at Tambon Health Promoting Hospital, Namyuen District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Graduate School, Pitchayatat. 2016;11(1):99-106. (in Thai).

4. Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors. Helping people change: A textbook of methods. New York: Pergamon Press; 1991. p. 305-60.

5. Glasgow RE, EmontS, Miller DC. Assessing delivery of the five ‘As’ for patient-centered counseling. Health Promot Int. 2006;21(3):245-55.

6. Nonthaburi City Public Health Office. Summary of chronic kidney disease screening report Amphoe MueangNonthaburi fiscal year 2016. Nonthaburi: Nonthaburi City Public Health Office; 2016. (in Thai).

7. Thungtong S. Effects of self-management support program for delayed progression of diabetic nephropathy on self-management behaviors and clinical outcomes in patients with uncontrolled type 2 diabetes mellitus. Songklanagarind Journal of Nursing. 2014;35(1):67-84. (in Thai).

8. Sanee A. Self management program in chronic diseases. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014;15(2): 129-34. (in Thai).

9.Kittipeerachol P, Asawachaisuwikrom W, Junprasert S. Effects of self-regulation program on arm swing exercise behavior and blood sugar of diabetic patients in community.The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2012;20(4):21-32. (in Thai).

10.Reungdit B, Urairat S, Samaair S. Development of self-care behaviors for patients with chonic kidney disease in Songkhla Hospital’s contracted Unit of Primary Care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2016;3(3):194-207. (in Thai).