ประสบการณ์การเผชิญปัญหา และความต้องการการช่วยเหลือของผู้รับบริการ ที่ทราบข่าวผลการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติ Clients’ coping experiences and needs of being informed an abnormal Pap smear result

Main Article Content

รุ่งกาญจน์ วุฒ
ประสมพร วชิรรัตนากรกุล
ณัฐนิชา คำปาละ
นภาพร นวลจันทร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเผชิญปัญหา และความต้องการการช่วยเหลือของผู้รับบริการที่มีผลการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่มาตรวจ ณ ห้องขูดมดลูก โรงพยาบาลลำปาง จำนวน 12 คนระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม 2553 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การเผชิญปัญหาของผู้ร่วมการวิจัย คือ ความผสมปนเปของอารมณ์ และการเผชิญหน้าโดยลำพัง ผลการวิจัยยังพบอีกว่าผู้ร่วมการวิจัยต้องการได้รับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติที่พบ การประคับประคองอารมณ์และจิตใจความปลอดภัยและการยอมรับความเป็นบุคคลจากผลการวิจัย ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในหลายๆด้าน ได้แก่ การแจ้งผลแบบสองทาง การประคับประคองด้านอารมณ์และจิตใจ ทั้งจากผู้ใกล้ชิดในครอบครัว และจากบุคลากรทางสาธารณสุข ใช้รูปแบบการแจ้งผลที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการแต่ละรายอย่างเหมาะสม และการนำครอบครัวมามีส่วนร่วม ในการรับฟังผลการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติ

 

Abstract

This qualitative study aimed to study clients’ coping experiences and needs after hearing an abnormalPap smear result. Twelve patients who were diagnosed with abnormal cervical cancer and received acurettage procedure in Lampang Hospital were purposively selected to participate in the study. Data werecollected during February-March 2010 through in-depth interviews and then analyzed using content analysis.The results showed that participants’ coping experiences were emotional turbulence and being alone.In this study, participants also reported their needs of information about abnormal results from healthprofessional, emotional support, and safety and being accepted as a person. Results of the study could beused to reform nursing care for these clients including developing a model of two-way communications fornotification, providing emotional and psychological supports from their family and health professionals, usingvarious methods of telling results to meet individuals’ need, and encouraging their family to participate inhearing abnormal Pap smear results.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ