องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Main Article Content

มาสริน ศุกลปักษ์
กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


               องค์ประกอบด้านสุขภาพเป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบหลักตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลกที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะสามารถพึ่งตนเองได้รวมไปถึงช่วยลดภาระการพึ่งพิงของครอบครัวและสังคม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุโดยการสืบค้นบทความวิชาการและบทความวิจัยจากฐานข้อมูลวารสารอิเลคทรอนิกส์ มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถเข้าถึงรายงานฉบับเต็ม และเผยแพร่15 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี ค.ศ.2002-2016 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


                 ผลการทบทวนวรรณกรรม พบว่ามีบทความและบทความวิจัย ทั้งหมด 15 เรื่อง องค์ประกอบด้านสุขภาพของแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุที่พบในบทความและบทความวิจัยมี 9 องค์ประกอบได้แก่ 1) การประเมินสุขภาพของตนเอง 2) สุขภาวะทางจิต 3) ความพิการ 4) ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันพื้นฐาน 5) ข้อจำกัดของร่างกาย  6) พฤติกรรมการออกกำลังกาย 7) ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันที่ซับซ้อน 8) การมองเห็นและ 9) การได้ยิน


                 จากการศึกษาค้นคว้าองค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในครั้งนี้จะทำให้นักวิจัยหรือผู้สนใจการส่งเสริมสภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุ นำองค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือวัดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ตลอดจนเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบหรือกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาสภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตามบริบทสถานบริการสุขภาพและชุมชนต่อไป


Abstract                                                                                  


                Health care is one pillar of active aging framework proposed by the WHO to help the elderly achieving well-being and self-reliance quality of life. It also reduces the burden for family and society. This is a systematic literature review focusing on searching and analyzing health dimension of active ageing. We included scholarly articles and research papers from the electronic journal database that have been published between 2002 and 2016 (both in Thai and English language) and that have been reviewed by experts with full report access.


                There were 15 articles matching the criteria, focusing on the following issues: 1) Self-rated health status, 2) Psychological well-being, 3) Disability, 4) Activities of daily living, 5) Functional limitation, 6) Exercise behavior, 7) Instrumental activity of daily living, 8) Vision and 9) hearing.


                Based on these studies researchers or health providers interested in promoting active aging of elderly can apply the elements of active ageing that derived from the synthesis analysis of literary reviews for development of active ageing instrumentation. It is also suited as a guide to creating model or health promotion activities to improve the active ageing of the elderly in the context of community health care settings.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ