ปัจจัยที่มีผลต่อการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเด็ก ปัจจัยด้านครอบครัว รูปแบบการเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัวกับการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียน 3) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ปกครองของเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองบ้านสวน จำนวน 234 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการมีวินัยในตนเองและแบบประเมินการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียน มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .82, .91, และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Enter
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับสูง (= 3.93, SD = 0.58)
2. รูปแบบการเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรีอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = .508 และ .249) ส่วนปัจจัยด้านเด็กและปัจจัยด้านครอบครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี
3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 คือ สัมพันธภาพในครอบครัว สามารถทำนายการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 25.80 (R2= .258)
ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ควรส่งเสริมให้ครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีเพื่อเสริมสร้างการมีวินัยในตนเองของเด็กวัยก่อนเรียน
Abstract
The objectives of this research were to study: 1) the level of self-discipline in pre-school children; 2) the relationship between child factor, family factor, parenting style and the family relationship with self-discipline; and 3) factors predicting the pre-school children’s self-discipline. The samples consisted of 234 parents of 3-6 year-old pre-school children in the child development center, Ban Suan Municipality, Chon Buri Province. Samples were selected by using simple random sampling. The instruments were: 1) questionnaire of the effects of self-discipline and 2) evaluation of self-discipline in pre-school child. Cronbach’s Alpha Coeffecient is .82, .91, and .81 respectively. Data were analyzed by using mean (), standard deviation (SD), Pearson’s Correlation Coefficient, Chi-Square Test and Multiple regressions by Enter.
The findings were as follows:
1. The level of self-discipline in pre-school children was high (= 3.93, SD = 0.58).
2. Parenting style and family relationship are positively significant related to self-discipline in pre-school children at p < .01 (r = .508 and .249). Child factor and the Family factor were not significantly related to self-discipline in pre-school children.
3. The factor that can predict the pre-school children’s self-discipline was significant at p < .000 levels. Family relationship factor can predict the pre-school children to be self-discipline (R2= .258).
The results of this research show that family relationship should be supported to strengthen self-discipline in pre-school child.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว