การพัฒนาต้นแบบการเตรียมชุมชนสังคมสูงอายุแบบบูรณาการ: สามเสา สามวัย สามประสาน

Main Article Content

ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล
สุธีร์ รัตนะมงคลกุล
อนงค์ หาญสกุล
นงลักษณ์ แสงสว่าง
วิมลวรรณ เลิศวงศ์เผ่าพันธุ์
ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล
สุธาสินี ปัญญาหอม
อุทัยวรรณ พลสมัคร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบการเตรียมชุมชนสังคมสูงอายุแบบบูรณาการ โดยใช้กรอบแนวคิดพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลก ดำเนินการในพื้นที่ 7 ตำบล 8 หมู่บ้าน ของอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน  (P-A-O-R) คือ การวางแผน การดำเนินการตามแผน การสังเกตผลการพัฒนา และการสะท้อนผลการพัฒนา และ 3) ระยะประเมินผล การวิจัยเก็บข้อมูลด้วยหลากหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การบันทึกภาคสนาม การใช้แผนที่ความคิด การศึกษาเอกสาร การใช้แบบสอบถาม และ การประชุม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่าทั้ง 8 พื้นที่มีการดำเนินโครงการแตกต่างกันไปตามบริบทและวิถีชุมชนผ่านการเรียนรู้ในกระบวนทำงานร่วมกันกับคนในชุมชน โดยมุ่งสู่เป้าหมายของการมีสุขภาพที่ดีโดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การมีหลักประกันความมั่นคงทางด้านการเงินด้วยโครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ โดยทั้งสองกิจกรรมเป็นการทำงานร่วมกันของชุมชนได้เฉลี่ยทุกข์ ปันสุขด้วยกัน การดำเนินโครงการพบการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมทั้งสามวัย คือ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ และการประสานความร่วมมือขององค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง วิจัยนี้ได้เสนอแนะการเตรียมชุมชนสังคมสูงอายุแบบบูรณาการ ออกมาเป็นแนวคิด “สามเสา- สามวัย-สามประสาน” ภายใต้บริบทวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชนและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต


Abstract


                The purpose of this participatory action research was to develop a model for integrative community preparation for ageing society using WHO Active Ageing framework. This study was conducted in 8 villages in 7 subdistricts of Ongkarak District, Nakorn Nayok Province.


                The study process was divided into 3 phases: 1) preparation phase 2) operation phase consisting of 4 steps (P-A-O-R) including planning, acting, observing and reflecting, and 3) evaluation phase. Data collections included observation, in-depth interview, natural interview, field note, concept mapping, document study, structured questionnaires and meeting. Statistical analysis was performed to produce percentages, means and standard deviations. Content analyses were done for qualitative data analyses. The results revealed various activities among 8 study sites depending on the context and participations of community aiming at good health by community exercises and financial security by cost reduction projects. Both activities were run by the stakeholders working together with caring. These research activities were operated through intergeneration bonding and collaboration of researchers, community stakeholders and responsible partnerships. This study suggests the concept for community preparation toward ageing populations entitled “3 Pillars-3 Generations-3 Partnerships” under the context of their own culture and learning throughout the life course.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ