อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์เกินเกณฑ์

Main Article Content

พิชชาภรณ์ สาตะรักษ์
จรัสศรี ธีระกุลชัย
จันทิมา ขนบดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                งานวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์เกินเกณฑ์


                กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์เกินเกณฑ์ ที่มาตรวจครรภ์ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลชลบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง       แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 64 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)


Abstract


                The aim of this descriptive research was to study predictors of weight control behaviors among pregnant women with over pre-pregnancy body mass index.


                The sample were composed of 100 pregnant women with over pre-pregnancy body mass index who came to be examined at the Antenatal Care Departments at Ramathibodi Hospital and Chonburi Hospital during July – August 2016. The subjects were purposively sampled. Data were collected by using six questionnaires consisting of personal data questionnaire, the Perceived Benefits Questionnaire, the Perceived Barriers Questionnaire, the Perceived Self-Efficacy Questionnaire, Social Support Questionnaire and Weight Control Behavior Questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis.


                According to the findings, weight control behaviors during pregnancy were found to be at a moderate level. Perceived self-efficacy and social support were able to predict fluctuations in weight control behaviors during pregnancy at 64 percent with statistical significance (p < .05).

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ